รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามนโยบายสามสร้างบ้านดอนเขาะ เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

วันนะลา สุดทีจัก
แดนวิชัย สายรักษา
รังสรรค์ สิงหเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามนโยบายสามสร้างบ้านดอนเขาะ เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนเปรียบเทียบก่อนการพัฒนากับสภาพที่เกิดขึ้นหลังการดำเนินการ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้วิจัย ผู้นำชุมชน หัวหน้าครัวเรือนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคีต่างๆ 1) สร้างสัมพันธ์กับชุมชน ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะกับบุคคลต่างๆ ในชุมชนที่มีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิจัย 2) สำรวจและการศึกษาชุมชน เป็นขั้นตอนการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของชุมชน 3) เตรียมคนในเครือข่ายความร่วมมือ กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้เกิดความพร้อมในการดำเนินการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีการเตรียมคน 3 กลุ่ม คือ เตรียมคนในชุมชน เตรียมนักพัฒนา และเตรียมนักวิจัย ระยะที่ 2 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 โดยการอภิปรายและถกปัญหา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับบุคคลและกลุ่ม เพื่อประเมินปัญหาและ          ความต้องการของชุมชน พร้อมกับการประเมินความเป็นไปได้ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและกำหนดรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อ               การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 1) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาชุมชน 2) การวิพากษ์โครงร่างรูปแบบกิจกรรมการพัฒนา ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน เป็นการทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มทดลอง ถึงความสำเร็จใน             การดำเนินการตามตัวแปร 5 ด้าน เพื่อวิเคราะห์ผลการทดลองยืนยันประสิทธิผล เปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังโดยวิเคราะห์ด้วย MANOVA (Repeated Measure) ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลจากการศึกษาบริบท ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามนโยบายสามสร้างบ้านดอนเขาะ เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 1) ผลการศึกษาบริบทชุมชน พบว่า ประชากรส่วนใหญ่


ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศ มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ มากสุดระหว่างอายุมากกว่า 55 ปี ระดับการศึกษา การศึกษาที่พบมาก ระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว มีจำนวนมากที่สุดระหว่าง จำนวน 6 -10 คน 2) ผลการศึกษาปัญหา พบว่า ประเด็นหลักๆ ดังนี้ (1) ปัญหาภัยแล้ง ขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตร (2) ปัญหาการขาดความรู้ที่ทันสมัยในการประกอบอาชีพ (3) ปัญหาการขาดการสนับสนุนอาชีพเสริม (4) ปัญหาการขาดการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ (5) ขาดทุนหมุนเวียน (6) ขาดการฝึกอบรมอาชีพเสริม 3) ผลการวิเคราะห์ความต้อง พบว่า ชาวบ้านต้องการความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ  


2. ผลการประชุมปฏิบัติการ และการพิจารณาของตัวแทนชุมชน นักวิชาการและผู้วิจัย ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน มีลักษณะเป็นกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 12 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การแกะสลักหินทราย 2) การจัดทำร้านค้าชุมชน 3) การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ 4) การจัดจำหน่ายหินสลัก 5) การทำปุ๋ยชีวภาพ 6) การเลี้ยงปลาดุในบ่อซิเมนท์ 7) การเลี้ยงไก่พื้นเมือง 8) การทำเกษตรอินทรีย์ 9) การปลูกผักสวนครัวรั่วกินได้ 10) การเลี้ยงและขยายพันธุ์สุกรพื้นเมือง 11) การเลี้ยงวัว 12) การจัดหาแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นผลการวิจัยระยะที่ 2  


3.  ผลการดำเนินการทดลองที่ได้ และกำหนดให้มีการวัดผลก่อนและหลังการดำเนินการ พบว่า หลังการทดลองมีการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง อันนำมาซึ่งผลการวิจัยระยะที่ 3 ผลจากการเปรียบเทียบความแตกต่างทีละ ตัวแปร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งแสดงว่าหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาทำให้ รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น รายจ่ายครัวเรือนลดลง การเกษตรเพื่อการยังชีพเพิ่มขึ้น การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น และคุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hemanaga Hemanat. (2014). Sustainable self-reliance for sustainable lives of Huay Na Kean Village, Tarn Sum district, Ubolrajathani province. Presented in The 4th National Conference in Sustainable Local Development, Khon Kean, Thailand.

Pamonrat Suthum (2004). Community dynamic and self-reliance in west region. Bangkok : National Research Council of Thailand.

Ministry of Digital Economy and Society. (2009). Masterplan of national information technology and communication. Bangkok : Ministry of Digital Economy and Society.

Amon Suwannamith and et al (2008). Learning processes in self-reliance of Kud Rong community. Bangkok : Office of the Higher Education Commission.

Nutnapat Pongpokinsatid (2009). The administration approaches of entrepreneurs in rural community enterprises in Meung Lampang district, Lampang province. Bangkok : Phranakhon Rajabhat University.