การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำแนกตาม เพศ อายุระดับการศึกษา อาชีพ และหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.85โดยนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีเพศ ใช้สถิติ t – test กรณี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และหมู่บ้านที่อยู่อาศัย ใช้ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F – test (One - Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และถ้าพบความแตกต่างกัน ผู้ศึกษาจะเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย โดยจะทำการทดสอบรายคู่ใช้วิธีการของเชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการตรวจสอบเนื้อหาของแผนพัฒนา รองลงมา ด้านการกำหนดปัญหา ด้านการจัดทำแผนงานโครงการ ด้านการตรวจสอบว่ามีการนำแผนพัฒนาไปจัดทำบัญญัติงบประมาณรายจ่าย และด้านการติดตามประเมินผล ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และหมู่บ้านที่อยู่อาศัย พบว่า เพศ และอายุไม่มีความคิดเห็นแตกต่าง สำหรับระดับการศึกษา อาชีพ และหมู่บ้านที่อยู่อาศัย มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ
จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก โดยเรียงลำดับจากความความถี่มากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการติดตามประเมินผล (f=50) รองลงมา ด้านการตรวจสอบว่ามีการนำแผนพัฒนาไปจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย (f=40) ด้านการจัดทำแผนงานโครงการ (f=30) ด้านการกำหนดปัญหา (f=35) ด้านการตรวจสอบเนื้อหาของแผนพัฒนา (f=20) ตามลำดับ
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Likhit Theerawekhin. (1987). Decentralization and Participation in Rural Development. Bangkok : Faculty of Political Science, Thammasat University.
Chalard Khamchuang. (1999). Local Politic Development. A Case Study of Sub-District Administration Organization. Bangkok: Office for Sub-District Administrative Organization, Ministry of the Interior.
Sudawan Meebua. (2004). Participation of People in Community in Development Planning of the Sub-district Administrative Organizations in Nakhon Srithamarat Province. Thesis for Master’s Degree. KhonKaen: KhonKaen University.
Office of Registration, Mueang District, MahaSarakham Province. (2010). Number of the Voters in Mueang District, MahaSarakham Province. MahaSarakham : MahaSarakham District Office.
Yamane, Taro. (1973). Statistic and Introductory Analysis.3rd ed. New York : Harper & Row.
Rungsan Singhalert. (2008). Research Methodology for Social Sciences. MahaSarakham: Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat MahaSarakham University.
Boonchom Srisa-ard. (2002). Introduction to Research. Bangkok: Sureeviyasarn.
Kharom Khampaithoon. 2002). A Study on Administration and Management for Development Planning of Sub-district Administrative Organization for Encouraging Public Participation, Phrayuen District, KhonKaen Province. Thesis for Master’s Degree. KhonKaen: KhonKaen University.
Ungkhana Wongnok. (2004). Administration in Development Planning of Sub-district Administrative Organizations for Promoting Public Participation in NadunDistrict, MahaSarakham Province.
Chaiyapol Boranmoon. (2006). A Study of Current problems and Difficulties in Participation of people in Planning Process for MahaSarakham Provincial Municipality Development. Thesis for Master’s Degree. MahaSarakham : Rajabhat MahaSarakham University.