การจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลกโดยกำหนดปัจจัยเชิงสาเหตุ 7 ปัจจัยกลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 392คนแบ่งเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 196 คน และกลุ่มภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 196 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Discriminant Analysis กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้จากการวิจัยระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบการจัดการโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้การประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมองกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 25 คน แล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอีกครั้งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนนำไปทดลองใช้ระยะที่ 3การทดลองใช้และประเมินผลการจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มทดลองคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในเขตตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกจำนวน 4 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 30 คนเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลกจำนวน4 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 30 คน (ที่ไม่ใช่กลุ่มทดลอง) นำผลการทดลองก่อนทดลองและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน(ร่วม)หลายตัวแปรตาม (MANCOVA) โดยใช้ค่าวัดรอบเอว เป็นตัวแปรควบคุม (Covariate) ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ 1) ความตระหนัก (0.941) 2) พฤติกรรมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย (0.873) 3) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (0.856) และ 4) แรงจูงใจ (0.845)
2. ผลการสร้างแนวทางการจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) คนอ้วน 2) เสริมพลัง 3) หุ่นดี ชีวีมีสุข 4) กินดี มีสุข 5) ตั้งใจกิน 6) อยากหุ่นดี ต้องมีเป้าหมาย 7) คู่หูและ 8) ขยับกาย สลายพุง
3. หลังการทดลองใช้การจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มทดลอง มีการจัดการภาวะโภชนาการเกิน ดีกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Bureau of EpidemiologyDepartment of Disease Control Ministry of Public Health . (2008). Situation of Epidemiology.
Department of Health, Ministry of Public Health. (2012). Guide to Promote Exercise for Health. Bangkok : The war Veterans Organization of Thailand .
Primary Health Care Division Department of Health Service Support Ministry of Public Health. (2007).Course Training for Standard Village Health Volunteer (VHV). Phitsanulok : Provincial Public Health Office.
Ministry of Public Health. (2009). Payment compensation for Village Health Voluteer. Bangkok : Ministry of Public Health.
Phitsanulok Provincial Public Health Office. (2017). Information Center.Phitsanulok : Provincial Public Health Office.
Kamolwan Sacorn. (2014). A Model of Over Nutrition of People in Beunghan Province. Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.
Rungson Singhalert. (2015.) Research Methology and Statistics for Social Science Research. Maha Sarakham : Triple Group co.,Ltd.
Brekler, M.H. (1974). The Health Belief Model and Personal health Behavior, Health Education Monographs.2(4).
James, O. Hill and Holly, R. Wyatt. (2005). Role of Physical activity in preventing and treating Obesity.Journal of Applied Physiology.
Jittiwat suprasongsin. (2001). Analysis Paper and Result Over Nutrition Research.Bangkok : Health Network Research. Nation Health Foundation.
Chonwayaphon Tharinin . (2001). Exercise for Fatso. Magazine near the doctor. 23(2).
Prapat Laksanawisuth. (1983). Faculty of sport science. Bangkok : Chulalongkorn University.