การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก : การวิจัยแบบผสมผสาน

Main Article Content

พันคำ มีโพนทอง
อรัญ ซุยกระเดื่อง
ไพศาล วรคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบแผนเชิงสำรวจบุกเบิก : รูปแบบการพัฒนาสารระบบ (Exploratory Design : Taxonomy Development Model) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผล          การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ เพื่อศึกษาแนวทางในการสนับสนุน และส่งเสริมประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก  การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ  ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบเชิงสมมุติฐาน ตามทฤษฎี  งานวิจัย และสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การปรับรูปแบบด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะที่ 3 การศึกษาแนวทาง            การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practices)และระยะที่ 4  การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบและพารามิเตอร์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับการ “รับรอง” มาตรฐานคุณภาพการศึกษา รอบที่สาม จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 585 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย 1,170 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอ้างอิงด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป  และวิเคราะห์ตรวจสอบความตรงของตัวแบบด้วยโปรแกรม Mplus Version 7.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัย พบว่า


1. รูปแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาปัจจัยด้านสมรรถนะของครูปัจจัยด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมสถานศึกษา ปัจจัยด้านวิธีดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและปัจจัยด้านประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยตัวแปรแฝงทั้งหมด วัดจากตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 23 ตัว


2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก มีความสอดคล้องกลมกลืน กับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ( gif.latex?X^{2}=14.784,df=12, gif.latex?X^{2}/df=1.23 P-Value= 0.2534, RMSEA=0.020, CFI=0.999, TLI=1.000และ SRMR=0.005)  ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง  พบว่า  มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรง 4 ปัจจัยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านวิธีดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปัจจัยด้านสมรรถนะครู ปัจจัยด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมสถานศึกษา ปัจจัยด้านสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามลำดับ ปัจจัยอิทธิพลทางอ้อม พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อม 3 ปัจจัยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือปัจจัยด้านสมรรถนะครู ปัจจัยด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมสถานศึกษา ปัจจัยด้านสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา  และอิทธิพลรวม พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก 4 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากค่ามากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านวิธีดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปัจจัยด้านสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาปัจจัยด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมสถานศึกษา ปัจจัยด้านสมรรถนะครู


3. แนวทางการพัฒนามาตรฐานการศึกษา  การสนับสนุนและส่งเสริมประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กจากการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)ในด้านการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ การสร้างความตระหนักที่มุ่งสู่คุณภาพ การเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาคุณภาพ การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Pattana Seehanu. (2010). A Causal relationship model of factors influencing the effectiveness of smaoll. Thesis for Doctor’s Degree school under doctor of philosophy programineducational. Administration, Loei Rajabhat university.

Samrit Kangpheng. (2008). Administrative factors affecting school effectiveness : Model development and validation. Thesis for Doctor’s Degree. KhonKaen : KhonKaen University.

Surajet Chaiphanphong. (2549). The development of causal relationship model of factors influencing effective school management in private vocational schools. Thesis for Master’s Degree. Phitsanulok : Naresuan University.

Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. (2008) .Higher education plan framework,15 years long term,No. 2 (2008-2022). Bangkok : Printing of Chulalongkorn University.

Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. (2556). Guidline ot Operate Internal Qulity Assurance in The Basic School for External Evalution under. Khon Kaen : Khon Kaen University.