ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 : ศึกษากรณีความลับทางการค้าเป็นหลักประกัน

Main Article Content

ศิวพร เสาวคนธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงในการศึกษาและวิจัยเรื่องปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ในกรณีนำความลับทางการค้าเป็นหลักประกัน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว เพื่อนำไปสู่ประเด็นสำคัญที่ควรจะต้องมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การนำความลับทางการค้ามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นั้น มีปัญหาการบังคับใช้ ทำให้เกิดการไม่ยอมรับและไม่ถูกนำไปใช้ในวงการธุรกิจ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้มีการนำความลับทางการค้า (ทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง) ไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยมีสาเหตุมาจากกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบันขาดความชัดเจน มิได้มีการวางหลักเกณฑ์ และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญของการนำความลับทางการค้ามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจไปจนถึงการบังคับชำระหนี้ ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาได้ 3 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ลักษณะเฉพาะของทรัพย์สินทางปัญญาประเภทความลับทางการค้า (2) การประเมินมูลค่าความลับทางการค้า (3) การบังคับหลักประกันความลับทางการค้า อันเป็นประเด็นที่นำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย (1) กำหนดลักษณะของความลับทางการค้าที่นำมาเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้ความลับทางการค้าสามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ และ (2) เสนอให้มีองค์กรเกี่ยวกับการควบคุมดูแลด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา และกำหนดให้ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (ความลับทางการค้า)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Chaiyod Hemratchatha. (2002). Description of the Copyright Law. Bangkok : Nithitham
(2010). Characteristics of Intellectual Property Law. Bangkok : Nithitham
[2] Chakrit Khunpote and Nanthana Inthanon. (2003). Concept and Evolution of the Protection of Intellectual Property. Instructional Materials of Intellectual Property Law. Bangkok : publisher; Sukhothai Thammathirat University.
[3] Bunyat Sushewa. (2559). Description of the Characteristics of Assets Law. Bangkok:The Office of Legal Education of the Thai Bar.
[4] Prida Youngsuksathaporn. (2008). Intellectual Property and Valuation Approach. Bangkok:Appa Printing Group.
[5] Petcharee Khumsarp. (1993). Principle of Managing Finance. Bangkok : Thammasat University.
[6] Pairatch Montapun and Punlop Kitayanwat. (2012). Development and Trends of Assets Valuation and the Role of Thai Assets ValuatorAssociation. Bangkok: Thai Assets Valuator Association.
[7] Charoen Jasadawan. (2005). Manual for Assets Valuation. Nonthaburi: Pordee
[8] Pairoj Suengsiln. (1995). Principles of Assets Valuation. Bangkok : Sutthisan Printing House.
[9] Jarin Tasavanit. (2002). Finance and Banking. Bangkok: OS printing house.