บทเรียนบนเว็บโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติ ของซิมพ์ซันเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปภิชญา เรืองโค
สนิท ตีเมืองซ้าย
อภิดา รุณวาทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  (1)  เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพของเมกุยแกนส์ (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติ และความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น (4)  เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น  (5)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น และ (6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล  จังหวัดอุดรธานี  จำนวน  33  คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  บทเรียนบนเว็บเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์    แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบวัดทักษะปฏิบัติ  แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อแบบ ก  และแบบวัดความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ได้แก่  ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test dependent sample


ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนบนเว็บโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันภายในบทเรียนจะประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และมีรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การรับรู้ ขั้นที่ 2 ตรียมความพร้อม ขั้นที่ 3 สนองตอบภายใต้การควบคุม ขั้นที่ 4 การลงมือกระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง ขั้นที่ 5 กระทำอย่างชำนาญ ขั้นที่ 6 การปรับปรุงและประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 7 การคิดริเริ่ม ซึ่งบทเรียนบนเว็บได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจนทำให้มีคุณภาพของบทเรียนบนเว็บอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (2) บทเรียนบนเว็บมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ (3) ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (4) ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับทักษะปฎิบัติมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ(6)นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Suwimon Wongwanich.(2007). Concepts and Principles of Classroom Research. Bangkok : Chulalongkorn University Book Center.

Kriengsak Chareonwongsak. (2010). Creative thinking.10th edition. Bangkok : Success Media.

Aree Phanmanee. (2004). Practice to think : Creatively Think. 3rd edition.Bangkok :Yaimai.

Sukon Sinthapanon and Other.(2012). Develop thinking skills based on educational reform. Bangkok : Techniques Printing.

Future Classroom Institute. (2014). Creative teaching-based curriculum. [Online] http://blog.eduzones.com/training/170121

Weera Thaipanich.(2008). Web-based Instruction.Ramkhamhaeng Research Journal of Humanities and Social Sciences ,11 (2) , July-December.

Simpson. D. (1972). Teaching physical education : A system approach. Boston : Houghton Mufflin Co.

Monchai Thienthong.(2011). Design and development of computer lessons. 3rd edition. Bangkok : King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok.

Jumnian Hanchaiyaphoom. (2012) . The Outcome of Learning Management in Bead Stringing of the Learning Content in Arts for Grade 4 Students by Simpson’s Practical Skill Development Model1. Journal of Graduate School, PibulsongkramRajabhat University, 6 (1) , January - June.