การจัดการความรู้ในการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนชนบท ในลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ในการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำของชุมชนชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ในการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำของชุมชน โดยศึกษาชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมาก่อน 2 พื้นที่ คือ ชุมชนบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ลุ่มน้ำมูล และกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ฮักแพงแบ่งปัน จังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่ลุ่มน้ำชี ผลการวิจัยพบว่าการจัดการความรู้ของชุมชนต้นแบบ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ คน กระบวนการจัดการความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในส่วนของคนเกิดโครงสร้างทางสังคมที่กำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน กระบวนการจัดการความรู้7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้มีความสำคัญที่สุดโดยชุมชนร่วมกันบ่งชี้ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือปัญหาน้ำแล้งกระบวนเรียนรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์หรือปลายทางของการจัดการความรู้ คือการเรียนรู้ ทำให้ชุมชน มีการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำแบบครบวงจร ประกอบด้วยการบริหารจัดการน้ำ การทำสมดุลน้ำ และองค์ความรู้ต่อยอดความสำเร็จในการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำ ในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศผลการวิจัยพบว่ามีการใช้เอกสารกระดาษ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งชุมชนสามารถใช้อินเตอร์แบบง่ายแต่เกิดประโยชน์สูง ในส่วนปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ของชุมชนต้นแบบพบว่าการศึกษามีเป็นปัจจัยความสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชุมชน ปัจจัยวัฒนธรรมความเชื่อท้องถิ่นมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดขวัญกำลังใจในการทำการเกษตร และนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนมาประยุกต์ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Wichai Tiennoi. (1990).Water conservation. InNatural Resource Conservation, page72 – 106. Bangkok: Aksornwatthana Publishing House.
PaitoonPiyapakorn. (2000). Thai surface water and groundwater. In Geography of Thailand, page 85 – 124. Bangkok: Ramkamhang University Press.
Royol Chitradon. (2017). Water Resource ManagementAccording to His Majesty the King's Initiatives Using Sciences and Teachnology.Available fromhttp://www.cpcsdo.com/portals/2/pdf/water.pdf
Royboon Rassameethes(2014). Community’sWater Resource Management According to His Majesty the King's Initiatives.Available from http://const.engrdept.com/present2.pdf
Khaowongshop. (2014). Local Market that Represent Phutai Khaowong Community’s Way of Life. Available from http://www.khaowongshop.com
Theerayuth Saithong. (2013). Ban LimthongSustainably Solves Drought Problems. Available from https://www.greenglobeinstitute.com/Upload/Content/Attachments/9b8abbe6-25e3-4474-8b3b-9c1bd820d63b.pdf
Hydro and Agro Informatics Institute (HAII).(2015).Natural Museum of Community’s Water Management According to His Majesty the King's Initiatives, Ban Limthong, Amphoe Nang Rong, Changwat Buri Ram. Bangkok:Hydro and Agro Informatics Institute (HAII).
Khaowong Hospital. (2015). Promotion of Organic Vegetable Production andConsumption: Case Study of Khaowong Hospital’s Scullery.Available fromhttp://203.157.186.16/kmblog/fulltext/1501056656.pdf
Hydro and Agro Informatics Institute (HAII).(2014). Community Details: Ban Limthong, Amphoe Nang Rong, Changwat Buri Ram(HostCommunity Year 2009 – 2011). Available fromhttp://village.haii.or.th/thaiag/index.php/network/55-2011-03-03-09-18-01/84-2012-06-15-04-26-08