การศึกษาการเผชิญปัญหาการแก้ปัญหาและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูเด็กเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

บุญส่ง คงแสนคำ
โชติกา ธรรมวิเศษ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาการเผชิญปัญหา การแก้ปัญหาและสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูเด็ก เขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological research) ผ่านประสบการณ์จากผู้สูงวัยในการเลี้ยงดูเด็ก จำนวน 8 คน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยผู้สูงวัยยินดีและยินยอมที่จะให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้ข้อมูลเพื่อประกอบวิเคราะห์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสกัดข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่า
การเลี้ยงดูหลานผู้สูงอายุไม่ได้มองว่าเป็นภาระแต่มีความสุขและยินดีที่จะเลี้ยงดูเพราะผู้สูงอายุมีความเชื่อมั่นว่าสามารถเลี้ยงหลานได้ดีกว่าคนอื่น ปัญหาที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในการเลี้ยงหลานคือ ปัญหาสุขภาพ ส่วนใหญ่มีอาการปวดข้อเข่าและปวดหลัง ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่พบคือมีรายรับกับรายจ่ายไม่สอดคล้องกันเนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากพ่อแม่ของเด็กที่มีรายได้ไม่สูงมากนักปัญหาการอบรมเลี้ยงดู พบว่าเด็กเล็กมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ทานข้าวได้น้อย ไม่ค่อยนอน ซึ่งวิธีการที่ผู้สูงอายุใช้ในเผชิญปัญหาคือการจัดการกับอารมณ์ของตนเองโดยการควบคุมและหลีกหนีสถานการณ์นั้นก่อนแล้วจึงหาทางแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญ และส่วนใหญ่สุขภาพจิตของผู้สูงวัยยังปกติ ไม่มีภาวะความเครียดสูง โดยพบว่าปัญหาที่ สัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ คือ ปัญหาสุขภาพและปัญหาเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Waraporn Trakoolsarid. (2006), Psychology of Adaptation. 3rd edition.Bangkok :

Publishing Center for Academic Promotion, Thai Elderly Research and Development Institute Foundation and the College of Demography,Chulalongkorn University. (2012), Annual report of Thai elderly situation 2011.Bangkok :Phongphanit Chareonpon Ltd.

Kanchana Thianlai and Wannee Hutaphaed.(2015).“Situation of Migrant Children in Skippedgeneration Households in Thailand”. The 11th National Conference on the topic of Population and Social Diversity in Thailand 2015 on July 1,2015 Mahidol University.

Sukree Siriboon. (1999). Mental health of the grandparents who are the primary caregivers of children aged 0-5 years in Kanthalalakdistict,Sriseket province. Master of Science Thesis (Family Health), Faculty of Public Health, Mahidol University,

Duanghathai Yodthong, Acharaporn Seeherunwong,Wanna Kongsuriyanavin and Atittaya Pornchaikate Au-Yeong. (2014). “Correlation between Age,Caregiving Burden Feelings and Depressive Symptoms in Grandparents Rearing Their Grandchildren”. Thai Journal of Nursing Council,29(1), January-March, 108-121.

Karnjana Dechawattanakul. (2014). Where is my parent? [Online] from : http://thailandunicef.blogspot.com/2014/07/blog-post.html (20April 2017)

Prapaporn Manorath. (2013).The Elderly Who are Alone : Impact and Social Role and Care. Boroma rajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 5(2), July-December.