การพัฒนาบทเรียนแบบยูเลิร์นนิ่ง ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่อง วิธีปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบเกษตรอินทรีย์ ชุมชนบ้านหนองไผ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนว่าด้วยการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบเกษตรอินทรีย์ ชุมชนบ้านหนองไผ่
ตำบลหนองไผ่ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบยูเลิร์นนิ่ง ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง วิธีปลูก
ข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบเกษตรอินทรีย์ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ของนักเรียน และบุคคลทั่วไปที่เรียนด้วยบทเรียน
แบบยูเลิร์นนิ่งที่สร้างขึ้น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนบุคคลทั่วไป และโดยรวมที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนแบบ
ยูเลิร์นนิ่งที่สร้างขึ้น ได้ออกแบบการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทของขุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรบ้าน
หนองไผ่ที่ประกอบอาชีพปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบเกษตรอินทรีย์ ต.หนองไผ่ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ โดยได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
(Specific purposive Sampling) จำนวน 20 คน ระยะที่ 2 สร้างและทดลองใช้บทเรียนแบบยูเลิร์นนิ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน
โรงเรียนบ้านค่ายวิทยา ช่วงชั้นที่ 4 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หมู่ 1 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random
Sampling) และบุคคลทั่วไป ชาวบ้านนาเสียว ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยวิธีการคัดเลือกแบบอาสาสมัคร
(Voluntary Selection) จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, เกณฑ์ของเมกุยแกน
ส์ และ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการศึกษาบริบทชุมชนหนองไผ่ว่าด้วยการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้องค์ความรู้
9 ด้าน ได้แก่ ประวัติความเป็นมาและประโยชน์, การเตรียม, การปลูก, การดูแลรักษา, การใส่ปุ๋ยอินทรีย์, การเก็บเกี่ยว, การแปรรูป,
ปัญหาที่พบและวิธีแก้ปัญหา 2) ผลการพัฒนาบทเรียนแบบยูเลิร์นนิ่ง ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง วิธีปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
แบบเกษตรอินทรีย์ ชุมชนหนองไผ่ ประกอบด้วย 6 ส่วนดังต่อไปนี้ โลโกเว็บไซด์, เมนู, สไลด์โชว์, เนื้อหา, กำหนดการ และส่วนท้าย
โดยที่บทเรียนมีคุณภาพ 4.49 มีประสิทธิภาพที่หาได้จากนักเรียนเท่ากับ 1.36 และ 1.33 จากประชาชนทั่วไปตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์
3) ผลการศึกษาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้งนักเรียน และบุคคลทั่วไปที่เรียนด้วยบทเรียนแบบยูเลิร์น
นิ่งที่สร้างขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนภาคปฏิบัติของนักเรียน และบุคคลทั่วไปที่เรียนด้วย
บทเรียนแบบยูเลิร์นนิ่งที่สร้างขึ้น คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 16.33 คะแนนร้อยละ 81.65 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า ความพึง
พอใจของนักเรียน บุคคลทั่วไป และโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Ministry of Education. (2002). National Education Act 1999 and Amendment (Issue 2) 2002. Bangkok: Organization of Transfer Products and Packging.
National Research Council of Thailand (NRCT).Document for the Brainstorming Meeting. (2016) (Drat) National Research Policy and Strategy No.9 (2017-2564) : Private Sector.
The Office of National Economic and Social Development. (2016). The 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2564). Bangkok: Prime Minister’s Office.
National Research Council of Thailand. (2016).Brainstorming meeting about (Draft) national policy and research strategy (No.9 : 2017-2564). 28 August 2016 : http://www.nrct.go.th/
Chaiyaphum Province. 26 June 2016 : http://www.chaiyaphum.go.th/index.php.
Thai Rice Exporters Association. 26 June 2016 : http://www.thairiceexporters.or.th/
Thai Rath Online. (2016). Agriculture sector income- household debt is rising!,Pull, Northeast economic situation, first quarter, stable, Thai Rath Online.26 June 2016:https://www.thairath.co.th/content/615829
Thanomporn Laohajaratsang. (2001). “Web-Based Instruction : Innovation for Teaching Quality,” CMU Journal of Education, 28 (1) : 87-94.
Piyanan Sawadsaringkarn. Form and Technology used in Teaching and Learning Management Ubiquitous Learning. 26 June 2016 : http://www.hrtraining.co.th/article_detail.php?id=114
Tisana Khammani. (2008). Teaching Science : Knowledge for Effective Learning Process Management. (7). Bangkok : Chulalongkorn University Publishing House.
Thai Tumbon Dod Com. OTOP : Thai Tumbon. 26 June 2016:http://www.thaitambon.com/otop
Monchai Thientong. (2011). Design and Development of Computer Lessons.(3). Bangkok : Department of Computer Studies, Faculty of Industrial Education, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok.
Phenporn Jaiyen and ThunratSinthanakul. (2012).“The Development of Web-Based Instruction on Official Letters in Word Processing Application Subject using Demonstration Technique,” RMUTP Research Journal Special Issue The 5th Rajaman gala University of Technology National Conference
Suriwipa Koontong. (2011). Traing on Web with Cooperative Learning in Purchase for Employees of Demo Public Commany Limited. Master of Education Thesis (Technology and Educational Communication).Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Kunlaya Charoenmongkonvilai. (2017).“A Study of Using Blended Learning Models with Integration of Multimedia Using : Case study of Information and communication technology Courses,Nakhon Pathom Rajabhat University,” the 3rd National Academic Conference on Industrial Technology and Engineering, UbonRatchathani Rajabhat University, 3 - 4 June 2016.