กลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ พลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล และ 3) ประเมินกลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล รวม 500 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยการสัมมนา
อิงผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล ด้านการควบคุมไม่ได้ดำเนินการมากกว่าด้านอื่น มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง มีปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง 2) กลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก 7 กลยุทธ์รอง ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การสร้าง ให้ชุมชนรอบเขื่อนมีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการจัดการพลังงานทดแทน (2)การบริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนให้มีความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนรอบเขื่อน (3) การส่งเสริมให้ชุมชนรอบเขื่อนเพิ่มศักยภาพในการผลิต และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน และ (4) การสร้างเครือข่ายด้านพลังงานทดแทน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบเขื่อนกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน 3) กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Ministry of Energy. (2012). Guide to transfer knowledge in energy and energy conservation. Knowledge transfer project in renewable energy and energy conservation area 5, Southern border province.Bangkok :Ministry of Energy
Krejcie,R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Determining sample sizeforresearchactivities,” Educational and Psychological Measurement, 30(3) , p608
SuphattanachaiPhokeaw. (2009). The Reimbursed-Energy Strategy of the Community : A Case Study on Using Hydraulic Power Supply System to Produce the Electric Current. Doctor of Philosophy (Regional Development Strategy) : Rajabhat Maha Sarakham University
Boonpitak Kongkhiaw. (2014). Green Energy Strategy for Singburi Province.Master of Science Thesis (Environmental Management). Faculty of Social and Environmental Development, National Institute of Development Administration.
Paveena Himhod. (2013). Guidelines for the Implementation of Green Energy Policy in Thailand. Master of Science Thesis (Environmental Management). Faculty of Social and Environmental Development, National Institute of Development Administration.
Nitchayarat Panit. (2013). Guidelines for Renewable Energy Management in Community of Thailand. Master of Science Thesis (Environmental Management). Faculty of Social and Environmental Development, National Institute of Development Administration.
Wisakha Phoojinda. (2006). “Development of renewable energy or alternative energy for electricity generation in Thailand”. Social Development Journal, 8(2), 47-82