รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ระหว่างวัยของผู้สูงอายุและเด็กในสถานศึกษา

Main Article Content

ชามาภัทร สิทธิอำนวย
พิณสุดา สิริธรังศรี
อุทัย บุญประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการเรียนรู้ระหว่างวัยของผู้สูงอายุและเด็กในสถานศึกษา 2) วิเคราะห์สภาพ
ปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ระหว่างวัย และ 3) นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการ
จัดการเรียนรู้ระหว่างวัยของผู้สูงอายุและเด็กในสถานศึกษา ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์กลุ่ม และ
การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ ครู และผู้สูงอายุในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถม
ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบริบทโรงเรียน 1) ขนาดเล็กและ
กลาง และ 2) ขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ จำนวน 17 โรงเรียนทั่วประเทศ ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นพบว่า กรณีศึกษาทุก
สังกัดต้องการได้รับการพัฒนาด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดำเนินงาน เนื่องจากเข้าใจว่าการเรียนรู้ระหว่างวัยเป็นการเรียนรู้
แบบทางเดียว จึงเน้นการให้ผู้สูงอายุเข้ามาเป็นวิทยากรภูมิปัญญา กรณีศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
มีความต้องการจำเป็นที่จะได้รับการส่งเสริมการศึกษาในทุกด้านมากกว่าสถานศึกษาสังกัดอื่น และกรณีศึกษาขนาดใหญ่ต้องการได้รับ
การส่งเสริมมากกว่าขนาดเล็กและขนาดกลางรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ระหว่างวัย มีองค์ประกอบ คือ 1) แนวคิด 2) หลัก
การจัดการเรียนรู้ 3) วัตถุประสงค์ 4) เป้าหมายการเรียนรู้ 5) กลุ่มเป้าหมาย 6) ประเภทการเรียนรู้ระหว่างวัย 7) บริบทสถานศึกษา
8) การบริหารจัดการเรียนรู้ 9) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ 10) การส่งเสริมเครือข่ายและชุมชน และ 11) ข้อดี ข้อจำกัด และเงื่อนไข
ความสำเร็จ รูปแบบได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน พบว่ามีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kaplan. (2001b). School-based Intergenerational Programs.

Hatton-Yeo A., and Ohsako T. (1999). Intergenerational Programme s : Public Policy and Research Implications An International Perspective.

Kaplan. (2001a). School-based intergeneraitonal programs. Hamburg : UNESCO Institute for Education.

Bostrum, A. (2003). Lifelong lerning, intergenera tional learning, and social capital. Stockholm : Institute of International Education Stockholm University.

Loewen, J. (1996). Intergenerational Learning : What If Schools Were Places Where Adults and Children Learned Together. Retrieved from http:// files.eric.ed.gov/fulltext/ED404014.pdf

Kaplan S. (2002). Intergenerational programs in schools : Considerationsl of form and function. International Review of Education, 48(5), 305-334.

Loewen, J. (1996). Intergenerational Learning : What If Schools Were Places Where Adults and Children Learned Together? Retrieved from

Springate, I., Atkinson, M., and Martin, K. (2008). intergenerational practice a review of the literature. Retrieved from UK :

Pain R. (2005). Intergenerational relations and practice in the development of sustainable communities. Retrieved from UK.