พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็ก
ปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาผล
การใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดย
ดำเนินการ เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการสอบถามแนวทางในการจัดประสบการณ์ ได้แก่ ครูชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 30 โรง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 150 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ
(Stratified Random Sampling) ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H ส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มทดลองนำร่อง ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านจัมปาพระอุ้ย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 15
คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H
ส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยและครูผู้สอน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 3 โรง จำนวน 3 ห้องเรียน
ได้แก่ โรงเรียนเมืองโพธิ์ชัย โรงเรียนชุมชนเชียงใหม่พัฒนา โรงเรียนบ้านโพนเฒ่า ห้องละ 20 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน ภาคเรียน
ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ใน
วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแนวทางการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย และแบบสัมภาษณ์ที่ไม่โครงสร้าง
รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยเอกสารประกอบรูปแบบ
การจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H ดังนี้ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H จำนวน 30 แผน จัดประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง
รวมจำนวน 30 ครั้ง และสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานและ ดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวทางการจัดประสบการณท์ ี่นำมาใชใ้ นการจัดประสบการณ ์ เพื่อสง่ เสรมิ ทักษะการคดิ สำหรับเด็กปฐมวัย อยใู่ นระดับปานกลาง
และมีขอ้ เสนอแนะของผตู้ อบแบบสอบถาม ดังนี้ แนวทางที่ควรนำมาจัดประสบการณแ์ ทคื้อ เทคนิควิธีการและนวัตกรรมใหมๆ่ ถา้ มีการ
พัฒนาทักษะการคิดได้จริง ๆ จะเกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เด็กมีทักษะการคิดที่เป็นระบบ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1)
แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นเตรียมความพร้อม ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยคือ กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ ขั้นจัดประสบการณ์ ประกอบ
ด้วยกิจกรรมย่อยคือ กิจกรรมสนใจเลือกได้ ขั้น เล่นไปคิดไป ประกอบด้วยขั้นกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิด 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่
1 เริ่มต้นคิด ขั้นที่ 2 สร้างความคิด ขั้นที่ 3 ประมวลความคิดและขยายความคิด และ ขั้นสรุปและประเมินผล ประกอบด้วยกิจกรรม
การเรียนรู้เล่นแล้วบอกต่อ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน
3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.96/77.50
และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.5750 และครูผู้สอนที่นำรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับ
เด็กปฐมวัย ไปจัดประสบการณ์ มีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 3H อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Sirima Phinyo-anantaphong. (2002). New Measurement and Evaluation : Early Childhood. Department of Curriculum and Instruction (Early Childhood Education), Faculty of Education. Bangkok : Srinakharinwirot University Prasarnmit.
KullayaTantiphalacheewa. (2014). “Early Childhood Mathematics Teaching,” Thai Journal of Early Childhood Education, 10(2) , 38-45.
NCTM. (2004). Teaching Math : Grades K-2 : Reasoning and Proof 2001, p.122 Retrieved October 23. Retrieved from http://www.learner.org./channel/math/gradesk-2/session-o.
Mc Guinness. (1999). From Thinking Skills to Thinking Classrooms : A Review and Evaluation of Approaches for Developing Pupils’Thinking. Research Report No.115 Norwich : Her Majesty’s Stationery Office.
Bureau of Academic and Educational Standards. (2011). Directions for the development of early childhood education curriculum of OBEC. Bangkok : Teacher’s council publishing.
Tissana Khaemanee and Others. (2004). Thinking Science. Bangkok : Institute of Development Research.
Piyathida Khajornchaikul. (2004). Development of problem solving processes in early childhood based on schema theory. Doctor of Education thesis. Bangkok :Chulalongkorn University.
AnchaleeSaiyawan. (2011). “Science for Early Childhood,” in Lecture documents for early childhood education programs. Bangkok : Phranakhon Rajabhat University.
ChawengSonboon. (2011). The Develoment of MATH-3C Instructional Model to Develop Basic Mathematical Skill of Yong Children. Dessertation, Ed.D. (Early Childhood Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University
Watchara Parnphoom. (2014). Development of playing experience management model to strengthen academic officesand Standards of desirable characteristics of early childhood. Doctor of Philosophy Thesis : Mahasarakham University.
Phatchara Phumchart. (2009). The development of creative problem solving experience based model for preschool children. Doctor of Philosophy Thesis. Bangkok : Silpakorn University.
Phattharadra Phunseeda, Phattana Chutchaphong,Sujinda Khajornrungsil and Manut Bunprakob. (2008). Development of Sparps Instructional Model for Enhancing Language Skills of Preschool Children. Journal of Education, 9 (1) , 2.
Khuanpha Rungsimayanon. (2009). The Development of a Buddhist-Based Learning Process Model for Preschool Children. Doctor of Philosophy Thesis. Bangkok : Ramkhamhaeng University.
Thipjutha Suphimarod. (2007). Development of Northern-Khmer child rearing cultural transmission process based on the local wisdom empowerment theory. Ph.D. thesis, Bangkok : Chulalongkorn University.
SumalaiWongkhasem, RungphaLommueng and YuphaseePhaiwan. (2007). The development of teaching and learning styles that focus on learner Center on the Course set of thinking and development of students. Mahasarakham : Rajabhat Maha Sarakham University.