อนาคตภาพของครูอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพของครูอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการผลิต การพัฒนา และการใช้ครู รวมทั้งกลไกการพัฒนาครูอาชีวศึกษา โดยศึกษา
จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา
2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมองอนาคต (Foresight workshop) และจัดกระบวนการมองทางเลือกโดยสร้างภาพอนาคต (Scenario
planning) โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดร่างแนวทางการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในอนาคต และให้ข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาครูอาชีวศึกษาของไทยในอนาคตที่เป็นรูปธรรม
ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อค้นพบจากการประมวลและสังเคราะห์แนวโน้ม นโยบายและยุทธศาสตร์ทางอาชีวศึกษานานาประเทศ
ที่น่าสนใจสามารถสรุปได้ดังนี้ (1) สภาวการณ์เรียนรู้คู่การทำงานจะกลายโจทย์ใหม่ที่ท้าทายระบบการศึกษาไทย (2) เกิดกระแสการ
เรียกร้องการสร้างกำลังคนตลอดจนแรงงานคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะการทำงานรวมถึงระบบการฝึกอบรมและพัฒนาคนที่เป็นรูปธรรม
(3) เกิดวิกฤตการศึกษาไทย “เด็กไทยตกขอบ เรียนไม่รู้ ทำงานไม่เป็น” (4) มีสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสร้างทักษะสัมมาชีพ
ในนานาประเทศ และ (5) การจัดการศึกษาถูกจัดระบบให้ตอบสนองการเติบโตของภาคการผลิตอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนากำลัง
แรงงาน 2) อนาคตภาพของครูอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้าตามฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้เสียนั้น สรุปได้ว่า การผลิต
ครูอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพต้องประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ การพัฒนาครูอาชีวศึกษาทั้งในสถานศึกษาและในสถานประกอบการต้องมี
ระบบและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การใช้ครูอาชีวศึกษาในอนาคตต้องให้เต็มตามศักยภาพของครูและสอดคล้องกับสมรรถนะของแต่ละ
บุคคล รวมทั้งกลไกการพัฒนาครูอาชีวศึกษานั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัย การขับเคลื่อนการศึกษาเชิงพื้นที่ ภาคีความร่วมมือคือหัวใจ
สำคัญของความสำเร็จและ การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงาน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
UCSC Silicon Valley Initiatives. Available from : http://svi.ucsc.edu/education/index.html How School Can Successfully Partner with Local Busi nesses. (2013). Available from: http://asiasociety. org/education/resource-schools/partnership-ideas/how-schools-can-successfully-Prtner-localbussinesses www. worldwewant 2015.
Kritsanaphong Keeratikorn. (2014). “Raising Teacher Quality” in Meeting of the Committee on the Reform of the Production and Teacher Development System. 24 January 2014.
European Training Foundation. Comparative analyses Work-based learning programs for young people in the Mediterranean region. 2015. from : www.etf.europa.eu/pubmgmt.nsf/…/NOTE7SNJWW.pdf