การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กิตติกวินท์ ปินไชย
รัตติกาล สารกอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสิรินธร อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 40 คน โดยมีวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสังเคราะห์งานวิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ จำนวน 5 แผน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.78, =0.36) แบบทดสอบการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก พบว่า ค่าความยากแบบทดสอบการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ มีค่าตั้งแต่ .43-.60 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ .31-59 จำนวน 30 ข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ จำนวน 13 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ .80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)


            ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์(2) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 การจัดการข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล และขั้นตอนที่ 5 การสรุปผลเพื่อตอบคำถาม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.96/86.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ (3) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์: ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาราวรรณ เดชฉกรรจ์. (2559).การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะ การแสวงหาความรู้ เรื่องภูมิปัญญาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, SilpakornUniversity.10(2), 409-436.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ภรณ์ศุมา ฤทธิไกรรวรกุล. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปและแอฟริกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟฝิก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University.10(2), 1379-1398.
สุกัญญา เพ็ชรนาค. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชาภูมิศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12.(น.1005-1013). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สรัญยา บุญมาก. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 17(2). 201-212.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือการใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Abdi, A. (2014).The effect of inquiry-based learning method on students'academicachievement in sciencesourse.Universal journal of educational research.Backler, A. and Stoltman, J. (1986).The nature of Geography literacy. Eric digest35. Retrieved October 10, 2020, fromhttps://files.eric.ed.gov/fulltext/ED277601.pdf.
Kerski, J. (2014). Kerskt2014.Geo-awareness, Geo-enablement, Geotechnologies, Citizen Science, and Storytelling: Geography on the world stage.Geography compass9/1: 14-26.