ภูมิปัญญาการรักษาโรคริดสีดวงทวารของหมอพื้นบ้านในจังหวัดพิษณุโลก:กรณีศึกษานางล้วน ภูศรีเทศ

Main Article Content

นิติรัตน์ มีกาย
จุฑามาศ กันธวงค์
พรทิวา ปงเมฆ
ภิญญาพัชญ์ พุฒจ้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการรักษาโรคริดสีดวงทวารของหมอล้วน ภูศรีเทศติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารและเพื่อศึกษาตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงทวารใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึกติดตามผลการรักษาผู้ป่วย 3 ราย โดยใช้วิธีการติดตามผลทางโทรศัพท์และสัมภาษณ์แบบเชิงลึกเพื่อนบ้านจำนวน 3ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กล้องถ่ายภาพ เครื่องบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา


  1. ผลการศึกษาภูมิปัญญาการรักษาโรคริดสีดวงทวารพบว่าหมอล้วน ภูศรีเทศ มีองค์ความรู้ด้านการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรอย่างหลากหลายทำการรักษามามากกว่า 42 ปี รับถ่ายทอดองค์ความรู้จากพ่อแม่และจากพระที่วัดใกล้บ้านด้วยวิธีการรับขันธ์ 5 ขั้น โรคที่มีความชำนาญในการรักษาคือโรคริดสีดวงทวาร วิธีการรักษาทำการตรวจด้วยการสอบถามอาการและการตรวจด้วยวิธีการสังเกตรอยโรคบริเวณขอบทวาร แบ่งออกเป็น 4 ระยะทำการรักษาด้วยการจ่ายยาตำรับสมุนไพรรูปแบบของยาเป็นยาเม็ดพิมพ์มือและยาทาสมุนไพรที่ใช้เก็บจากท้องถิ่นมาตากแห้งค่าตอบแทนแล้วแต่จะให้หรือคิดตามค่ายาข้อปฏิบัติข้อห้ามต้องเคร่งครัดในศีล 5

  2. ผลการติดตามการรักษาของผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารจำนวน 3 ราย พบว่าอาการผู้ป่วยที่รับรักษาโรคริดสีดวงทวารจะได้รับการรักษาประกอบด้วยยากินและยาทาหลังจากผู้ป่วยทำการรักษามีอาการดีขึ้นไม่มีอาการปวดแสบคันบริเวณทวารหนักและไม่มีอาการปวดเบ่ง

  3. ผลการศึกษาตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ารสยาโดยรวมเป็นตำรับยาที่มีรสร้อน ด้านสรรพคุณฤทธิ์การระบายได้แก่ ยาดำ เพชรสังฆาต มะขามเปียก ฤทธิ์การสมานแผล ได้แก่ ขมิ้นอ้อย ไพล อ้อยแดง ฤทธิ์การลดอาการอักเสบ ได้แก่ ว่านชักมดลูกหนอนตายหยากตำรับยาที่ใช้รักษาเป็นไปตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คู่มือประกอบการรับรองหมอพื้นบ้าน ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ. 2562. ( 2562). กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรับรองหมอพื้นบ้าน.กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.
ขวัญเรือน บุญกอบแก้ว.(มปป.).โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจากหมอพื้นบ้านสู่ชุมชนบ้านควน ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากสำนักงานคณะกรรมการการ.
คณะกรรมการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ.(มปป.).การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก Service plan.การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก Service plan สาขาแพทย์ แผนไทยฯ เขตสุขภาพที่10, น.51-53.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2562). เพชรสังฆาต. สืบค้นจากฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร Thaicrudedrug: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=95.
โชค แซ่ว่าง. (2556). การวิเคราะห์ผลการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักโดยกระบวนการรักษาด้วยตำรับยาริดสีดวงมหากาฬ.สืบค้นจากhttps://stam2002.com/medicine- detail.php?id=13
ชลวิทย์ สิงหกุล,เอกฤทธิ์ กลมเกลียวและเพ็ญพร จันทะเสน. (2562).องค์ความรู้การรักษาโรคริดสีดวงทวารของหมอพื้นบ้านจังหวัดศรีสะเกษ.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 17(3),195.
ตำราแพทย์แผนไทยโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรมไทย.(มปป.).บทที่ 3 สรรพคุณเภสัช.กองประกอบโรคศิลปะ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ปิยนุช ยอดสมสวยและสุพิมพ์ วงษ์ทองแท้.(2552).การศึกษา.ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก.คณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมจิตร เนียมสกุล,อังคณา หิรัญสาลี,สุวรา วัฒนพิทยกุล,ณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ และเกษม ประภารนุพันธ์. (2550). ว่านชักมดลูก, วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.5(3),25-26.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ.2562.(2562).ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข.ราชกิจจานุเบกษา.รุจินาถ อรรภสาฐ,เสาวนีย์ กุลสมบูรณ์,รัชนี จันทร์เกษ,สุพัตรา
สันทนานุการ และพจีกาญจน์ จิระเสถียรพงศ์ .(2548). สถานการณ์การจัดการความรู้ วิจัย ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ.สำนักงานการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
ทะเบียนหมอพื้นบ้าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2562. (2562). ทะเบียนหมอพื้นบ้าน.ทะเบียนหมอพื้นบ้านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2562.
ธนกานต์กิจนิธิประภา และวรานนท์อินทรวัฒนา. (2563). เพชรสังฆาต,วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 37(1), ม.ค.-มี.ค.
ธีรยา วรปาณิ และปองพล วรปาณิ. (2561). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านจากหมอพื้นบ้านในจังหวัดตาก.วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่,19 (1), 120.อรทัย เนียมสุวรรณ,ณญาดา เจริญสุข,อัญชนา ทางรัตนสุวรรณ, สมพร ขุมทอง,นฤมล เส้งนนท์.(2556).การสำรวจสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง:กรณีศึกษาหนังสือบุดขาวของหมอรุ่ง ชูมณี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ8(2), 2-44.
อัจฉรา สุมังเกษตร และชัยวัฒน์นันทศรี. (2559). องค์ความรู้ภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้าน กรณีศึกษา อำเภอนามน.วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดฯ, 9(2),101
JirakritLeelarungrayub,JiradejManorsoi,Aranya Manorsoi. (2017). Anti-inflammatory activity of niosomesentrappedwithPlai oil (ZingiberassumunarRoxb.) bytherapeutic ultrasound in a rat modelInternationalJournal of Nanomedicine12, 2475.
John A. Astin. (1998). Why Patients Use Alternative MedicineResults of a National Study.JAMA20 279(19), 1548.
Natalia Mikolajczak.(2017).Potential health benefits of aloevera.Journal of Education, Health and Sport.8(9), 1.
VarutLohsiriwat.(2015).Treatment of hemorrhoids: A coloproctologist’s view.World Journal of Gastroenterology.2015(31),9247.