การจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาป่าชุมชนภูปอบ บ้านวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

สุวัฒ ดวงแสนพุด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของชุมชนศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนศึกษารูปแบบการจัดการป่าชุมชน และเพื่อจัดทำแผนการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของป่าชุมชนภูปอบ บ้านวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย การวิจัยในครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 วิธี วิธีแรกเป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ โดยศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนทำการศึกษากับประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ คือ หัวหน้าครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 105 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ (คุณภาพของแบบสอบถามด้านความตรงเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97) วิเคราะห์ผลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิธีที่สอง เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาบริบททั่วไปของชุมชน ศึกษารูปแบบการจัดการป่าชุมชน และจัดทำแผนการจัดการป่าชุมชนผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง7 กลุ่มได้แก่ เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ในพื้นที่เป้าหมาย 2 คนปราชญ์ชาวบ้านที่เกี่ยวข้อง 6 คนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คนผู้นำชุมชน 20 คนกลุ่มการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ (Home Stay) 5 คน และชาวบ้านที่เกี่ยวข้อง 19 คนรวม 56 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประชาคม มีเครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบจดบันทึก แบบสังเกต วิเคราะห์ผลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทชุมชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม มีความสัมพันธ์กันทางสังคมที่เรียบง่าย มีเอกลักษณ์ทางศิลปะวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น มีการใช้ประโยชน์ และเชื่อมโยงระหว่างสภาพทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า “ป่าชุมชน” เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และมีปัญหาสังคมอยู่หลายประการ2) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนภูปอบ บ้านวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 3) รูปแบบการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมภูปอบ บ้านวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายมี7รูปแบบได้แก่การเก็บกัก การรักษา/ซ่อมแซม การแก้ไข และฟื้นฟู การพัฒนา การป้องกัน การสงวน และการแบ่งเขตและ4) แผนการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของป่าชุมชนภูปอบ บ้านวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


ประกอบด้วย 7 แผน ได้แก่ แผนงานด้านการเก็บกัก มี 5 โครงการ แผนงานด้านการรักษา/ซ่อมแซม มี 2 โครงการ แผนงานด้านการแก้ไขและฟื้นฟู มี 3 โครงการ แผนงานด้านการพัฒนา มี 18 โครงการ แผนงานด้านการป้องกัน มี 8 โครงการ แผนงานด้านการสงวน มี 2 โครงการ และแผนงานด้านการแบ่งเขต มี 2 โครงการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้. (2540). ประโยชน์ของป่าไม้.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการกรมป่าไม้.
กาญจนา คุ้มทรัพย์. (2558). การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดอนหมู จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารการเกษตรราชภัฏ,14(1), 31-36.
เกษม จันทร์แก้ว. (2556). การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จักรพงษ์พ วงงามชื่น และ คณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านทาป่าเปาตำบลทาปลาดุกอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน. วารสารวิจัย และพัฒนา มจธ.,36 (2),215-234.
ฉัตรชัย พงษ์ประยูร. (2549). แนวความคิดใหม่ทางภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.
ชาญชัย งามเจริญ. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชน. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด.(2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1.(พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
พระครูพิพิธสุตาทร และคณะ. (2552). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. พระนครศรีอยุธยา:สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.(2550).ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา.124 (ตอนที่ 47 ก), หน้า 1.
ฤิทธิบาน สุชีวะกุล. (2554). รูปแบบพัฒนาการจัดการป่าชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,1(2), 123-142.
ศรีประไพ รคุ้มศัตรา.(2559) .การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน: ศึกษากรณีตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์,1(3), 59-68.
สมเกียรติ สุทธิสาร. ผู้ใหญ่บ้าน. (15 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์สุรัสวดีราชกุลชัย. (2543).การวางแผน และการควบคุมทางการบริหาร.กรุงเทพฯ: จามจุรี.
Chorley, R. J.,&Haggett, P. (1967). Models in Geography.New York: Methuen.