มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระบบกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานระหว่างประเทศไทย และต่างประเทศโดยศึกษาเฉพาะกรณีพยานหลักฐานที่ถูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์และเพื่อเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานของประเทศไทยเกี่ยวกับพยานหลักฐานดิจิทัลที่ถูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์ โดยทำการศึกษาและค้นคว้าวิจัยในเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ การวิจัยเอกสารจากตำรากฎหมาย งานวิจัย และเอกสารวิชาการซึ่งตีพิมพ์ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2530 ถึง พ.ศ.2563 จำนวน 40 เล่ม และตีพิมพ์ในต่างประเทศ จำนวน 20 เล่มกฎหมายไทย จำนวน 8ฉบับ และกฎหมายต่างประเทศจำนวน 15 ฉบับ และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่านโดยคัดเลือกจากบุคลากรในหน่วยงานกระบวนยุติธรรมทางอาญาหลักและมีอำนาจ หน้าที่ ตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานดิจิทัล ได้แก่ ผู้กำกับการกลุ่มงานสนับสนุนเทคโนโลยี กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทนายความอิสระ พนักงานอัยการและผู้พิพากษาเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกเอกสาร และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีจำนวน 9 ข้อ โดยผลการวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัยด้วยค่า IOC (Index of Item Objective Congruence)โดยมีค่าเฉลี่ยรายข้ออยู่ระหว่าง0.50ถึง 1.00
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า1)จากการเปรียบเทียบระบบกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานระหว่างประเทศไทย และต่างประเทศพบว่าประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดประเภทของพยานหลักฐานดิจิทัลไว้เป็นพยานหลักฐานอีกประเภทต่างหากจากพยานหลักฐานประเภทอื่นที่ศาลใช้ในการพิจารณาอยู่ในปัจจุบันเช่นดียวกับต่างประเทศ และได้บัญญัติถึงหลักการตรวจยึดให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานดิจิทัลไว้ในกฎหมายหลายฉบับแต่กลับไม่มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งประเภทและลักษณะข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอแตกต่างกับกฎหมายต่างประเทศที่กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ชัดเจน2)ปัญหาของระบบกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานของประเทศไทยเกี่ยวกับพยานหลักฐานดิจิทัลที่ถูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ เนื่องจากระบบกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานของไทยไม่ได้มีการกำหนดประเภทของพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะจึงก่อให้เกิดปัญหาในการตีความเพื่อจำแนกพยานหลักฐานดิจิทัลว่าเป็นพยานหลักฐานในประเภทใด ส่งผลให้การนำสืบพยานหลักฐานดิจิทัลแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทคดีโดยอาศัยการตีความตามวัตถุประสงค์ในการนำเสนอพยานหลักฐานทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับนำเสนอพยานหลักฐานของอีกฝ่ายเป็นเหตุให้เกิดการคัดค้านพยานหลักฐานนั้นและเนื่องจาก ไม่มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งประเภทและลักษณะข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอจึงอาจทำให้เกิดปัญหาการตีความและการนำหลักการตรวจยึดพยานหลักฐานดิจิทัลในกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างฉบับกัน จึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ณรงค์ ใจหาญ. (2556). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเล่ม 2.(พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: วิญญูชน.ติณเมธ วงศ์ใหญ.(2563).ปัญหาการพิสูจน์และการรับฟังพยานหลักฐานประเภทวีดิทัศน์จากกล้องวงจรปิดในคดีอาญา.วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.13(2), 115.
ประเสริฐ คันธมานนท์. (2549). พยานหลักฐานดิจิตอล.สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 จาก http://digi.library.tu. ac.th/.
พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2561). ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟน. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์โรงเรียนายร้อยตำรวจ.4(1), 83.
พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2562). ความน่าเชื่อถือในการนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นพยานหลักฐาน.วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนายร้อยตำรวจ. 5(1), 146.
แลร์รี อี แดนเนียล และลาร์ส อี แดนเนียล. (2559).การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย.(สุนีย์ สกาวรัตน์, แปล).กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง.
วรินทรา ศรีวิชัย. (2562). การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลกับ คดีเกี่ยวกับความมั่นคง.วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.13(2), 99.
สัญลักข์ปัญวัฒนลิขิต,นันท์มนัส จันทราศัพท์และคมสัน สีหมนตรี. (2561). พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์:กรณีความผิดฐานหมิ่นประมาท. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.6(1), 62-65.
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์.(2559).ข้อเสนอแนะมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ดิจิทัล.กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.
Martin Novak. (2020). Digital Evidence in Criminal Cases Before The U.S. Courts of Appeal:Trends and IssuesForConsideration.RetrievedOctober5, 2020, from https:// com.mons.erau.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1609&context=jdfsl.
The World Economic Forum. (2019). The Global Risks Report201914thEdition.RetrievedApril5, 2020, from http://www3.weforum.org/docs/WEF_Global_Risks_Report_2019.pdf.
U.S. Department of Commerce. (2015). Guidelines on Cell Phone Forensics. Retrieved October 18,2020, from https://www.govinfo.gov/content/pkg/GOVPUB-C13bd12c48cccb6fefb73982be53dea84c4/pdf/GOVPUB-C13bd12c48cccb6fefb73982be53dea84c4.pdf.