การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 จำนวน 328 คน ได้มาโดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีวิสัยทัศน์ สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การมีความยืดหยุ่น และปรับตัว การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การมีความคิดสร้างสรรค์ และการมีวิสัยทัศน์2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัด และประเมินผล เนื้อหาสาระประกอบด้วย 5 Module ได้แก่ Module 1 การทำงานเป็นทีม Module 2 การมีความยืดหยุ่น และปรับตัว Module 3 การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล Module 4 การมีความคิดสร้างสรรค์ และModule 5 การมีวิสัยทัศน์ ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมวิชาการ. (2545). ความคิดสร้างสรรค์: หลักการ ทฤษฎีการเรียนการสอน การวัดผล และประเมินผล.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสานักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,11(2),1-18.
กองบริหารงานวิจัย และประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2560). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2563 จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/blueprint-thailand-4/
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,4(1), 58-73.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.พนัส หันนาคินทร์. (2542). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดี และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2545). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: สำนักพิมพ์มนตรี.
สมคิด บางโม. (2546). เทคนิคการฝึกอบรม และการประชุม.กรุงเทพฯ: วิทยานิพัฒนา.
สมชาติ กิจยรรยง. (2550). เทคนิคการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมเดช สีแสง. (2543). คู่มือปฏิบัติราชการ และเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 5). ชัยนาท:ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
สัมฤทธิ์ กางเพ็งและสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ: แนวคิดหลักการทฤษฎีและงานวิจัย(พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). การนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3.
Chen, S.F. (1990). Some Aspects of the Spatial Instability of Beam-columns, Proceedings, 4th International Colloquium, North American. New York : Session SSRC.
PhimphonPhimko. (2015). Program Development for Enhancing Creative Leadership among School Administrators in Local Government Organizations of Thailand.International Journal of Behavioral Science. 10.(pp.79-93.).
Qingling Zhang. (2016). Creative Leadership for Primary School Principals to Promote Teachers’ Creativity in Guangxi, China, Journal of Education Studies Chulalongkorn University,48. (pp.91-112).
Raelin, J.K. (2002). Toword Understanding and Measuring Conditions of Trust: Evolution of a Conditions of Trust Inventory, Journal of Management,17.(pp.58-59).
Robert N. Lussier and Christopher F. Achua.(2006).Effective Leadership. 3rd ed.International Student, Mason, Ohio: Thomson/South-Western.Rogers, E.M. (2000). Diffusion of innovation.New York : Macmillan Publishing.
Stringer, R. A. (2002).Leadership and OrganizationalClimate: the Cloud ChamberEffect. Upper Saddle River: CA: Prentice-Hall.
Wentling, T.L. (1992). Planning For Effective Training: a Guide toCurriculumDevelopment.Rome:FAO.
Will, M. (1993). Managing the Training Process: Putting The Basic Into Practice.London:McGraw-Hill.