กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

Main Article Content

เขมนิจ บุญสาลี
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) พัฒนากลยุทธ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยกำหนดกระบวนการวิจัย และพัฒนาแบบผสมผสานแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 224 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 พัฒนากลยุทธ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 24 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกเอกสาร แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแบบประเมิน แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.495 ถึง 0.897และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.982แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.519 ถึง 0.939และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.994 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า1)สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุดได้แก่ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน ดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.108-0.168 พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน มีความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนาโดยเร่งด่วน รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ 2)กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารด้วยระบบคุณภาพอย่างยั่งยืน 2) กลยุทธ์ส่งเสริมศักยภาพผู้บริหาร และครู3) กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ความรู้ประสบการณ์ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน4) กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารสถานศึกษา


ที่มุ่งเน้นผลสำเร็จของงาน และ5)กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 มาตรการ 5 วัตถุประสงค์15 เป้าหมาย 23 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 44 แนวทางปฏิบัติ ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคน บนความยั่งยืน.กรุงเทพฯ: เต๋า (2000).
เจษฎา นกน้อย. (2554). การจัดการความรู้ และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ในแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์(1991) จำกัด.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2552). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รัตนไตร.
นิชนันทร์ บุญสา. (2558). สภาพองค์การแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3), 68-76
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปัฐมพงศ์ รัตนโกศัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: ศึกษากรณีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพัทลุง. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,5(1), 47-72
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2562). สมรรถนะ และการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช. (2550). วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. จุลสารอุตสาหกรรมสัมพันธ์, 73, 2-3.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
โสภณ งามสวย และสุรศักดิ์ คำคง. (2560). การพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 17(3), 29-40
Argyris, C., &Schon, D.A. (1978). Organization Learning: A theory of action perspective.Massachusetts: Addison-Wesley.
Bennet, J. K., & O’Brien, M. J. (1994). The building blocks of the learning organizationJune 1994, 41-49.
Garvin, D.A. (1998). Building a learning organization.Harvard Business Review on Knowledge Management. Boston:Harvard Business School Press.Hanrin, Chanwit; Sri-Amphai, Pissamai;Ruangmontri.Development.Research in Higher Education Journal,13(4),1-8.
Karn; and Namwan,Tharinthorn. (2011). The Construction and Development of Indicators of Learning Organization at Higher Educational Institutions Emphasizing GraduateProduction and Social
Marquardt. (1996). Building the Learning Organization: A System Approach to QuantumImprovement & Global Success.New York: McGraw-Hill.
Marquardt,and Reynolds. (1994). The Global Learning Organization. New York: Irwin.
Morgan, G. (2006). Images of Organization. Thousand Oaks, Calif.: Sage Publications.
Peddler, M., and Others. (1991). The learning Company: A Strategy for Sustainable Development.Mardenhead: McGraw-hill.
Sarder, R. (2016).Building an innovative learning organization: A framework to build a smarter workforce, adapt to change, and drive growth. New Jersey: John Wiley &Sons, Inc.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization (1st ed.). New York Doubleday Currency.
Senge, P. M. (1991). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization London: Century Press.
Senge, P. M., Kleiner, A., Roberts, C., Ross, R., &Smith, B. (1994). The fifth discipline fieldbook:Strategies and tools for building a learningorganization. New York,NY: Doubleday Currency.
Senge, P. M. (1999). The dance of change: The challenges of sustaining momentum in learning organizations. New York, NY: Doubleday.
Senge, P. M. (2000). Schools that learn: A fifth disciplinefieldbook for educators,parents, and everyone who cares about education. New York, NY: Doubleday.
Senge, P. M. (2006). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization (Rev. ed.). New York, NY: Doubleday.
Thongsuk,Kanitnichaand Rueangmontri, Karn. (2020). Program Development of Ethical LeadershipEnhancement for School Administrators under the Office of Basic Education Commission.International Journal of Psychosocial Rehabilitation,24(1), 2134-2139.