ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาผู้ให้บริการ

Main Article Content

สังเวียน นิ่มนวล

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลง จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง การเดินทางเน้นความปลอดภัยด้านสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้รายได้ของภาคธุรกิจบริการลดลง ผู้ประกอบการบางรายต้องปิดกิจการเป็นการชั่วคราวหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ และอีกหลายบริษัทต้องลดขนาดธุรกิจโดยปรับลดจำนวนพนักงาน ทำให้ผู้ให้บริการต้องมีการปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสามารถเผชิญกับวิกฤต หาวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายจากการคิดอย่างสร้างสรรค์มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ความท้าทายตนเองทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตและหนทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาชีวิต และการทำงาน เมื่อใดก็ตามที่ผู้ให้บริการมีขีดความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ก็จะทำให้เกิดโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานด้านการบริการใหม่ ๆ ที่เหมาะสมตอบโจทย์กับความต้องการของนักท่องเที่ยว ดังนั้นบทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายในการเสนอแนวคิดในการพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ทำงานด้านการบริการ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ และผลักดันการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน และเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ อีกทั้งเพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยว เดือนพฤศจิกายน 2563. Retrieved from กรุงเทพฯ:กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และกีฬา.
จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2562). เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 4(2), 114-127.
ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการ และวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,10(3), 188-202.
ปิ่นฤทัย คงทอง. (2562). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสำหรับการบริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 12(1), 228-235.
ปิยพร อรุณเกรียงไกร. (2563). Future of Travel: อนาคตของการท่องเที่ยวอยู่ตรงไหนในยุคโควิด-19. Business & Industrial.
พชรพจน์ นันทรามาศ. (2563). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน: Krungthai Compass.
วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาบุคลากรของธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน เพื่อรองรับการบูรณาการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศิริขวัญ ปัญญาเรียน. (2563). การศึกษาผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ภาคเหนือตอนบน (แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง). วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 41-52.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). ผลกระทบโควิด-19 ต่อการจ้างงานในภาคบริการของประเทศไทย. ทีดีอาร์ไอชวนอ่าน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 9(2020).
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2562). สถิติแรงงานประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
Bryson, J. R., Sundbo, J., Fuglsang, L., & Daniels, P. (2020). Service Personnel and Their Management Service Management (pp. 105-128): Springer.
Duxbury, N., Bakas, F. E., de Castro, T. V., & Silva, S. (2021).Creative Tourism Development Models towards Sustainable and Regenerative Tourism. Sustainability, 13(1), 2.
Fishelson, I. (2021). The associations between computational thinking and creativity: The role of personal characteristics. Journal of Educational Computing Research, 58(8), 1415-1447.
Guilford, J. P. (1975). Varieties of creative giftedness, their measurement and development. Gifted Child Quarterly,19(2), 107-121.
Lee, C.-C., & Chen, M.-P. (2020). The impact of COVID-19on the travel and leisure industry returns: Some international evidence. Tourism Economics, 0(0), 1354816620971981. doi:10.1177/1354816620971981
Madera, J. M., Dawson, M., Guchait, P., & Belarmino, A.M. (2017).Strategic human resources management research in hospitality and tourism: A review of current literature and suggestions for the future. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 29(1), 48-67.
Mellander, C., & Florida, R. (2012). The rise of skills: Human capital, the creative class and regional development.Royal Institute of Technology, CESIS-Centre of Excellence for Science and Innovation Studies.
Ngoc Su et al. (2021). Enhancing resilience in the Covid-19crisis: lessons from human resource managementpractices in Vietnam. Current Issues in Tourism,1-17.
Potjanajaruwit, P., & Girdwichai, L. (2019). Creative innovation of startup businesses in Thailand 4.0 era. Journal of International Studies, 12(3).
Puccio, G. J., Mance, M., & Murdock, M. C. (2010). Creative leadership: Skills that drive change: Sage Publications.
Richards, G. (2020). Designing creative places: The role of creative tourism. Annals of tourism research, 85, 102922.
Svidruk, I., Topornytska, M., & Melnyk, I. (2020). Development of creative tourism as a management tool for recreational development of economically depressiveregions of Ukrainian carpathians. Independent Journal of Management & Production, 11(8), 640-660.
Watcharawit W. (2020). Guidelines for Potential Development of Human Resources in Tourism Industry of Student, Graduate, Academic and Entrepreneur. RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences,7(1), 30-44.