ผู้ปกครองกับการประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ Executive Functions (EF)เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental Process) ในสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำซึ่งเป็นกระบวนการทางสมองขั้นสูงที่ช่วยเชื่อมโยงประสบการณ์ในอดีตกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันเพื่อช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมความคิด อารมณ์ การตัดสินใจ รวมทั้งการกระทำต่าง ๆ ของตน ส่งผลให้บุคคลมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยความสามารถดังกล่าวจะช่วยให้มีการควบคุมตนเองให้มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนความคิด และความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน กระบวนการทางความคิดขั้นสูงนี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้นผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกายเพื่อช่วยส่งเสริมทักษะสมองให้ดีขึ้นโดยผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กปฐมวัย ทักษะเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชีวิตประจำวันเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างในสมองของเด็กโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย อายุ 3-5ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมองมีการพัฒนา และเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อกระบวนการทางความคิดนี้ได้รับการพัฒนาจนเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสมองแล้วจะคงอยู่เป็นลักษณะนิสัย หรือคุณสมบัติของบุคคลไปตลอดชีวิต การประเมิน (Assessment) เป็นวิธีการที่ช่วยให้รู้ และเข้าใจความสามารถ พฤติกรรมที่เป็นปัจจุบันของเด็กโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นำข้อมูลนั้นไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม และความสามารถนั้น ๆ ดังนั้น ผู้ปกครองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของบุตรหลาน ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กปฐมวัยขณะเล่น การพูดคุย การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และมีการบันทึกพฤติกรรมนั้นเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กมีทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จอย่างสมบูรณ์
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
นวลจันทร์จุฑาภักดีกุล. (2557). การคิดเชิงบริหาร. กรุงเทพฯ:คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นวลจันทร์จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2559). การประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน. นครปฐม :ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล.
บัณฑิตา อินสมบัติ และสุชานาฎ ไชยวรรณะ. (2564). การพัฒนามาตรวัด และประเมินทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วไลพร เมฆไตรรัตน์.(2563). การจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) และสถาบันรักลูก. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF-Executive Functions ตั้งแต่ปฏิสนธิ-3ปี.กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.
สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
อนงค์นารถ ยิ้มช้าง, สุชานาฏ ไชยวรรณะ และบัณฑิตา อินสมบัติ.(2564). ผู้ปกครองกับสื่อสร้างสรรค์ทักษะสมอง EF. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1),1-14.
Anderson, V. A., Anderson, P., Northam, E., Jacobs, R., &Mikiewicz, O. (2002). Relationships between Cognitive and Behavioral Measures of Executive Function in Children with Brain Disease. Child Neuropsychology, 8(4), 231-240.
Banich, M. T. (2009). Executive Function: The Search for an Integrated Account. Association for Psychological Science, 18(2), 89-94.
Bigler, E. D., Howieson, D. B. Lezak, M. D., &Tranel, D.(2012). Neuropsychological Assessment(5thed.). New York: OxfordUniversity Press.
Burry-Stock, A.J., Shaw, G.D., Chissom, S.B. and Laulie, C. (1996). Rater Agreement Indexes for Performance Assessment.Educational and Psychological Measurement, 56(2), 251-262.
Carlson, S. &Zelazo, P. (2014). Minnesota Executive Function Scale. Saint Paul, MN, Reflection Sciences.
Cooper-Kahn,J.,Foster, M. (2013). Boosting Executive Skills in the Classroom: A Practical Guide for Educators. San Francisco: Jossey-Bass Cryan, J.R., Sheehan, R., https://www.sciencedirect.com/ science/article/abs/pii/088520069290004I - !
Wiechellrene, J.,Bandy-Hedden,G.I. (1992). Success Outcomes of Full-Day Kindergarten: More Positive Behavior and Increased Achievement in The Years after.Early Childhood Research Quarterly. 7(2),187-203.
Fitztatrick, R., &Marrison, E. J.(1971). Performance and Product Evaluation, In Bi Thorndike (Ed.), Educational Measurement. (2nded.). Washineton DC American Council on Education.
Gilbert, S. J., & Burgess, P. W. (2008). Executive Function. Current Biology, 18(3), 110-114.
Hughes, C., & Ensor, R. (2005). Executive Function and Theory of Mind in 2 Year Olds: A Family Affair? Developmental neuropsychology, 28, 645-668.
Monette, S., Bigras, M., & Claude Guay, M. (2011). The Role of the Executive Functions in 276 School Achievement at the End of Grade 1. Journal of Experimental Child Psychology, 109(2), 158-173.
Shaul, S., & Schwartz, M. (2014). The Role of the Executive Functions in School Readiness among Preschool-Age Children. Springer Science, 27(2014), 749-768.
Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth) & RLG Institute. (2018). The Manual ofEF Brain Skills Executive Functions from Conception to 3 years. Bangkok: Aksornthai Printing LTD.
7Wenner, C.J., Bianchi,J., Figueredo, A. J., Rushton,J.P., & Jacobs, W. J. (2013). Life History theory and Social Deviance: The Mediating Role of Executive Function. Intelligence, 41(2),102-113.
Wiebe, S. A., Espy, K. A., &Charak, D. (2008). Using Confirmatory Factor Analysis to Understand Executive Control in Preschool Children: I Latent Structure. Developmental Psychology,44, 575-587.
Zelazo, D.P, (2006). The Dimensional Change Card Sort (DCCS): AMethod of Assessing Executive Function in Children.Nature Protocols, 1(1), 297-307.