การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สิริกัลยา สุวะรักษ์
อนุสรณ์ จันทร์ประทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 42) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 804) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563โรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม จำนวน 36 คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบสังเคราะห์เอกสาร2) แบบสัมภาษณ์3) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกจำนวน 4 แผน4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแบบปรนัยจำนวน 20 ข้อ5) แบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์(Dependent-Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า1)แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยามี 5 ขั้นตอน ได้แก่1) ขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียนโดยถาม-ตอบระหว่างครูกับนักเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม2) ขั้นตอนการสร้างองค์ความรู้ โดยให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง3) ขั้นตอนการแบ่งปันความรู้ โดยให้นักเรียนนำเสนอ และอภิปรายกลุ่ม4) ขั้นตอนการทบทวนความรู้ และนำไปใช้ โดยการสนทนาร่วมกันระหว่างครู และนักเรียน โดยสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำใบงาน และแบบทดสอบ5) ขั้นตอนการประเมินผล โดยครูทำการประเมินจากชิ้นงานที่มอบหมายให้นักเรียนทำ และประเมินจากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน2)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.07/83.75 สูงกว่าเกณฑ์ 80/803)นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054)นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยาโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2561). การจัดการเรียนรู้สู่ Thailand 4.0: Active Learning. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.17(2), 1-6.
จรรยารักษ์ กุลพ่วง นพมณี เชื้อวัชรินทร์ และเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(3), 265-275.
จรันธนิน คงจีน. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น และการช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.21(1), 6-29.
จุฑามาศ บุญทวี, สมาน เอกพิมพ์ และยุวดี อินสาราญ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0”. 1(1), 928.
ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2558). Learning Management by ACTIVE LEARNING.กรุงทพฯ:สำนักพิมพ์ ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
ประมวลศิริผันแก้ว. (2541). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. สสวท26, (103), 8-10.
โรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562. กาฬสินธุ์: โรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม
วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2541). คอนสตรัคติวิสต์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณภา สายมาตย์ .(2560). การปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29.วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 6(2), 11-19.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์). 9(1),135-145.
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548).สอนอย่างไรให้ active learning.วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน. 2(2), 12-15.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยา เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์. (2560). การศึกษามโนทัศน์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(2), 224-234.
อริยาคูหา, สรินฎาปุติ และฮานานมูฮิบบะตุดดีนนอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30(2), 1-13.
อุเทน ทักคุ้ม. (2555).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกระบวนการคิดวิเคราะห์ ระหว่างการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น กับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ หน่วยการเรียนรู้ย่อย เรื่อง ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 7(20), 39-48.