การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจร เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานรายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานรายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติสำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการรู้แบบโครงงานเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา ปีการศึกษา 2563จำนวน 40คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (2) แบบสัมภาษณ์ความเหมาะสม และข้อเสนอแนะของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) แผนการจัดการเรียนรู้ (4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติโครงงาน(5) แบบทดสอบภาคปฏิบัติ และ(6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า(1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เรื่องวงจรอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานประกอบด้วย6 ขั้นตอน คือ ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นการกำหนด และเลือกหัวข้อ ขั้นการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ขั้นการปฏิบัติงานโครงงาน ขั้นการนำเสนอผลงาน และขั้นการประเมินโครงงาน (2) กิจกรรมเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจร เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 มีจำนวน 4 แผน 12 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.31/88.31 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้(3) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานรายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1มีทักษะในการปฏิบัติงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา .กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.
จินตนา วงศ์อำไพ. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียน และนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การจัดการเรียนรู้).พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ชรินทร ชะเอมเทส. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีบริหาร โดยใช้โครงการเป็นฐาน(Project - Based Learning) สำหรับผู้เรียนระดับปวส. 2 สาขาการบัญชี. วิจัยในชั้นเรียน,วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ.
ชาญชัย อาจิณสมาจาร. (2540). การประเมินการอบรมเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การประเมินการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2).มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช. (2545). คู่มือการเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แม็ค.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่.นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนดพับลิสชิ่ง.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็ก และเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์วิสุทธิ์.
เต็มดวง ดวงมณี. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่าน และการเขียนสะกดคำยาก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). บุรีรัมย์:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทิศนา แขมมณี. (2556). วิธีการสอนแบบสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา เดวิเลาะ. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดมาตราตัวสะกดไทย.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). ฉะเชิงเทรา:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
นิศารัตน์ ศิลปเดช. (2542). เอกสารประกอบการสอนระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ:สถาบันราชภัฏธนบุรี.
นันทวัน จันทร์กลิ่น. (2557). การศึกษาปัญหา และแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านเนินมะปรางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตร และการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.บุบผา เรืองรอง. (2556). มอนเตสซอรี่ (Montessori Method). นครศรีธรรมราช: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). พระนครศรีอยุธยา:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). เอกสารประกอบการพัฒนาครู(ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์) โครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยงโดย สพม.1 สพม.42 สพป.ระยอง 2 และสพป.ตราดกับคณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล หวังพานิช. (2536). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
มณี โพธิเสน. (2543). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนโพธิเสนวิทยา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. รายงานค้นคว้า อิสระการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัชการดา เหลาแก้ว. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). บุรีรัมย์:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
รังศิมา ชูเทียน และทศพร แสงสว่าง. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2545) .การเขียนแผนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยส์.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2543). กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน ในนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ). กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สิทธิพล อาจอินทร์ และคณะ. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี.วารสารวิจัย มข., 1 (1). เมษายน-มิถุนายน 2554.
Barnard, Chester I. (1972). The Functions of the Excutives. Boston: Harvard University Press.
De Cecco, J. P. (1974). The Psychology of Learning and Instruction: Educational Psychology. Englewood Cliffs, New Jersey:Prentice-Hall, Tnc.
Garrison, K.C.& Magoon,R. (1972). Educational psychology. Ohio: Charles E. Morrill Publishing century-crofts.