ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรรมการใช้เวลาว่างกับรูปแบบการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

อัณณ์ภิศา ราร่องคำ
แคทลียา ชาปะวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เวลาว่างกับรูปแบบการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 159 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เวลาว่างโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านนันทนาการ ด้านวิชาการและด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านแบบแข่งขัน ด้านแบบพึ่งพาและด้านแบบหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับมาก นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีระดับชั้นแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีพฤติกรรมการใช้เวลาว่าง และรูปแบบการเรียนรู้โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และผลกระทบ พบว่าพฤติกรรมการใช้เวลาว่างด้านวิชาการด้านนันทนาการ ด้านการหารายได้พิเศษและด้านเสริมหลักสูตร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับรูปแบบการเรียนรู้โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทะเบียน และประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2563). ข้อมูลนิสิตระดับปริญญาตรี.สืบค้นจาก http://regpr.msu.ac.th/th.
จุฑารัตน์ ทิพย์บุญทรัพย์. (2553). การเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์รูปแบบการใช้เวลาว่าง ของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารMAHIDOL R2R E-JOURNAL, 4 (1).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2563). ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.สืบค้นจาก http://www. msu.ac.th.
บริพัฒน์ อัศวาณิชย์. (2550). การเข้าร่วมการใช้เวลาว่าง และความพึงพอใจในการใช้เวลาว่างของประชาชนในเขตบางกะปิที่มีต่อการให้บริการทางนันทนาการของกรุงเทพมหานคร.วารสารบรรณศาสตร์มศว,8 (1),มกราคม-มิถุนายน.
ปราณี อ่อนศรี. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก, 10 (1),มกราคม–มิถุนายน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
ศิริพร พูลสุวรรณ. (2557). กิจกรรมการใช้เวลาว่างของนักศึกษาภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารสังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2),กุมภาพันธ์.
สุธิภา อักษรนันทน์. (2550). รูปแบบการเข้าร่วมการใช้เวลาว่างและความพึงพอใจการใช้เวลาว่างของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีต่อการให้บริการการใช้เวลาว่างของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุยศาสตร์ และสังคมศาสตร์),1 (2),กรกฎาคม-ธันวาคม.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2557). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
อภินันท์สิริรัตนจิตต์.(2557). พฤติกรรมการใช้เวลาว่างของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 8 (1),มกราคม–มิถุนายน.
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York: John Wiley & Son.
Black,K. (2000). BusinessStatisticsforContemporary DecisionMaking.4thed. NewYork:JohnwileyandSon.
Dattio, J. (2002). Inclusive Leisure Services:Responding to the rights of people With disabilities. (2nd ed.). State College, PA: Venture Publishing, Inc.
Grasha, A.; & Reichman, S. (1975). Workshop Handout on Learning Styles. Cincinnati, OH: Faculty Resource, University of Cincinnati
Guy, S. F. (1995). Compton’s PicturedEncyclopedia and Fact Index. New York: F.E. Compton.
Kaplan, Max. (1975). Leisure ; Theory and policy,New York: John wiley & Scn, Inc.
Nunnally, J. C.Psychometric theory (2nd ed.). NewYork, NY:McGraw-Hill. 1987.
Pesavento, L.; et al. (2008). GoGirlGo! Chicago: Social, Economic and Community Capitalthrough Physical Leisure Activity for U.S. Girls. In Proceedings of the 10thWorld Leisure Congress, 6-10 October 2008, Quebec, Canada. p. 31. Quebec: World Leisure and Recreation Association.