การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

เพชร์ บุญมาหล้า
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย และพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่าย จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภูจำนวน 180 คน ได้มาโดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า1)สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากคือ ด้านการมีความยืดหยุ่น และปรับตัว สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากคือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ด้านการมีจินตนาการ และด้านการมีความยืดหยุ่น และปรับตัว2)โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภูประกอบด้วย1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัด และประเมินผล เนื้อหาสาระประกอบด้วย 3Moduleได้แก่Module 1 การมีวิสัยทัศน์Module 2 การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลModule 3 การมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 11(2), 1-18.
กองบริหารงานวิจัย และประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.(2560).พิมพ์เขียวThailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่งมั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นจากhttps://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/blueprint-thailand-4/
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ธีระ รุญเจริญ และคณะ. (2554). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.4(1), 58-73.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
ประยูร ศรีประสาธน์. (2542) .รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปริญญา มีสุข. (2552).ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนัส หันนาคินทร์. (2542). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สมชาติ กิจยรรยง. (2550). เทคนิคการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมเดช สีแสง. (2543). คู่มือปฏิบัติราชการ และเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 5). ชัยนาท:ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และ สรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ: แนวคิดหลักการทฤษฎีและงานวิจัย(พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
วิโรจน์สารรัตนะ.(2548). การบริหารการศึกษา: หลักการทฤษฎีหน้าที่ประเด็น และบทวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สุคนธ์สินธพานนท์. (2551). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สุปัญญดา สุนทรนนทธ์ และคณะ. (2558). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์).
สุวิทย์เมษินทรีย์. (2560). การบริหารการศึกษาเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย 4.0. ปาฐกถาศาสตราจารย์ดร.วิจิตรศรีสอ้าน ครั้งที่ 8 ประจำปี 2560 คณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19.(2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19.เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19.
อัคพงศ์ สุขมาตย์ และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กรอบการศึกษาประเทศไทย.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
Bolam, R.(1994). “In Service Education and Training of the Teachers and Educational Change,” in Research Methods in Education. 4thed.New York:Routtledg.
Chen, S.F. (1990). Some Aspects of the Spatial Instability of Beam-columns, Proceedings, 4th International Colloquium, North American. New York : Session SSRC.
Harris, A. (2009).“Creative Leadership,” Journal of Management in Education. 23(1) : 9-11,
PhimphonPhimko. (2015). Program Development for Enhancing Creative Leadership among School Administrators in Local Government Organizations of Thailand.International Journal of Behavioral Science. 10. (pp.79-93.).
Qingling Zhang. (2016). Creative Leadership for Primary School Principals to Promote Teachers’ Creativity in Guangxi, China.Journal of Education Studies Chulalongkorn University. 48. (pp.91-112).
Wentling, T.L. (1992). Planning For Effective Training: a Guide toCurriculum Development. Rome: FAO.
Will, M. (1993). Managing the Training Process: Putting The Basic Into Practice.London: McGraw-Hill.