แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาของโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาการศึกษาสหวิทยาเขตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต3

Main Article Content

ดาราวรินทร์ มะลาศรี
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เข้าใจด้านในของตัวเองรู้ตัวเข้าถึงความจริงทำให้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลก และผู้อื่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาของโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาการศึกษาสหวิทยาเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่1ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญา กลุ่มตัวอย่างคือครู จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.60-1.00ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง0.33-0.74ค่าความเชื่อมั่น 0.94วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูประยะที่2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปอุปนัยร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาของครู มีสภาพโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก2)แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาพบว่า 1) หลักความมุ่งมั่น คือ ครูควรรู้จักพัฒนาตนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดกับผู้เรียน ไม่สอนในสิ่งที่ตนยังทำไม่ได้ 2) หลักความรัก ความเมตตา คือครูควรสร้างระบบการศึกษาภายในห้องเรียนให้หลุดพ้นจากการแข่งขันส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยเหลือกันโดยใช้ความรักความเมตตาเป็นพื้นฐาน 3)หลักการเผชิญความจริงคือครูควรให้ผู้เรียนเริ่มจากสิ่งที่เด็กถนัด และสนใจ ค่อย ๆ พัฒนาไปยังสิ่งที่เด็กไม่ถนัด 4) หลักความต่อเนื่อง คือ ครูควรจัดกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน ออกแบบกิจกรรมให้มีความร้อยต่อเนื่องทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน 5) หลักชุมชนแห่งการเรียนรู้คือ ครูควรส่งเสริมให้เด็กยอมรับความแตกต่างมองความแตกต่างว่าเป็นสิ่งที่สวยงาม6) หลักการพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญคือ ครูควรฝึกการเข้าถึงสภาวะของจิตที่พร้อมต่อการเรียนรู้7) หลักการเชื่อมโยงสัมพันธ์คือ ครูควรใช้พื้นที่ และวิถีชุมชนเป็นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้


 
 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ดาราวรินทร์ มะลาศรี, สาขาวิชาบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

 

ชยากานต์ เรืองสุวรรณ, สาขาวิชาบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

 

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2558). วิจัยพบ “พุทธิปัญญา”ภูมิคุ้มกันวัยรุ่นยุคบริโภคนิยม. สืบค้นจากhttp://www.madchima. org/forum/index.php?topic
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ:เอดิสัน
โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร.นครปฐม:ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2558). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์(สทมส.),21 (1),55-66.
ธนานิลชัยโกวิทย์. (2551). หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง จิตตปัญญาศึกษาการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์.กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปาริชาต เตชะ. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาการจัดการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาครู.สืบค้นจากhttps://www.gotoknow.org/posts/462503
ประเวศ วะสี. (2549). จิตตปัญญาศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล. ปาจารยสาร ฉบับสิกขาปริทัศน์. สืบค้นจาก http://www.semsikkha.org.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (2559, ธันวาคม29). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 133ตอนที่115 ก. หน้า 65.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2542, สิงหาคม19). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 116ตอนที่74 ก. หน้า 3.
วิไล พิพัฒน์มงคลพร และคณะ. (2554). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)และการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา(Contemplative Education).วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา,150-168.
สุมนอมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สายฝนจันบุตราช. (2561). สภาพ และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 17 (สิรินธร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ “ครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 3”ศาสตร์ของพระราชา: การศึกษา4.0กับการพัฒนาที่ยั่งยืน, 854-860.
Hart, T. (2004). Opening The contemplative Mind in Classroom.Journal of transformative Education,2(1) ,28-4