การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อมรรัตน์ สิงห์โท
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเศรษฐศาสตร์และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเศรษฐศาสตร์โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนที่ 1 จำนวน 19 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและเศรษฐกิจประเทศไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 แผน 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 21 ข้อและ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคและเศรษฐกิจประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test dependent)


การศึกษาวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพ เท่ากับ84.42/81.05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อมรรัตน์ สิงห์โท, สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

 

อรัญ ซุยกระเดื่อง, สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

 

References

กนก จันทรา. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 9 (1) : 42-55.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ธีรภัทร์ นิตยกุลเศรษฐ์ และทัศนีย์ นาคุณทรง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย กลุ่ม สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 14(2)
นิติยา ทรงมงคลรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องคืนคุณธรรมสู่ห้องเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองฟ้าแดด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด9 (1) : 386-396.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น.
บุญนำ อินทนนท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุงที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
รัชนี เกษศิริ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา.วารสารวิชาการ VeridianE-Journal Silpakorn Universityฉบับภาษาไทยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ10 (2) : 2323-2340
โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร. (2562). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนมหาชัยพิทยาคารประจำปีการศึกษา 2562. มหาสารคาม: โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ.นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ศิริเนตร นิลนามะ. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ส 21104 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบสวนสอบสวน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2559). คะแนนโอเน็ต59 เด็ก ป.6,ม.3 ต่ำกว่าครึ่งทุกวิชา เว้นภาษาไทย.สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/content/view/4393.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา.มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
อาภรณ์ แสงรัศมี. (2543). ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.