ความต้องการจำเป็นของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกรของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกรของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของพื้นที่นักประดิษฐ์นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา
ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกใช้กรอบแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) พื้นที่2) ด้านเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์และ 3) ผู้อำนวยการเรียนรู้กรอบแนวคิดการแปรรูปอาหารในสถานศึกษาอาชีวศึกษา และกรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารและครูปฏิบัติหน้าที่สอนสาขาวิชาอาหารและโภชนาการในวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ภาคตะวันออก จำนวน 42 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.826) และมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.577) ตามลำดับ องค์ประกอบของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ผู้อำนวยการเรียนรู้ (PNImodified=0.222) ซึ่งมีองค์ประกอบด้านการสร้างเครือข่ายที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด(PNImodified=0.2700)องค์ประกอบของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีความต้องการจำเป็นรองลงมาคือ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์(PNImodified=0.210) ซึ่งมีองค์ประกอบด้านการสร้างเครือข่าย มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNImodified=0.295)และองค์ประกอบของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ พื้นที่ (PNImodified=0.153) ซึ่งมีองค์ประกอบด้านการสร้างเครือข่าย มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNImodified=0.250) ซึ่งการสร้างเครือข่ายจะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างนวัตกรรมการแปรรูปอาหารต่าง ๆ ร่วมกัน รวมทั้งประสานงานกับงานอื่น ๆ เพื่อให้ก่อให้เกิดนวัตกรรมการแปรรูปอาหาร ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้วางแผนในการลำดับ
ความสำคัญตามลำดับความต้องการจำเป็นในการออกแบบพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเพื่อให้เป็นประโยชน์ในสถานศึกษาได้ต่อไป
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ณัฐชา วีแสงสกุลไทย. (2561). การศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นยาว์และผู้ประกอบการนวัตกรรม.เอกสารประกอบการบรรยายปาฐกถาศาสตราจารย์ดร.วิจิตร ศรีสะอ้านครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชาคม จันทรชิต. (2561). เปิดภารกิจผลิตกำลังคนอาชีวะหนุน EEC Key success อยู่ที่สถานประกอบการ.Retrievedfromhttps://www.salika.co/2018/09/20/eec-3.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย4.0. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ:การศึกษาทฤษฎีฐานราก.วารสารวิชาการ Veridion E-Journal,(8)2, 281-300.
วสันต์ สุทธาวาศ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีการพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา.วารสารวิชาการVeridion E-Journal, (9)1, 748-767.
สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ. (2559). รายงานประจำปี 2559.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ:สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562.สืบค้นจากRetrieved from https://www.nia.or.th/frontend/article/bvdsrleozdy/NIA_ActionPlan2562.
ศศิมา สุขสว่าง. (2559). ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0. สืบค้นจาก Retrievedfrom https://www.sasimasuk.com/.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร.สาขาวิชาบริหารการศึกษาภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทาง การศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564).สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). ศึกษาความต้องการแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(พ.ศ. 2561-2570). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). โครงการศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้วางแผนการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ.กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2559). ประเทศไทย 4.0.กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579.สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Cambell University. (2019). Learning Through Inquiry:Makerspaces, Manipulatives, and Boardgames.Retrievedform https://guides.lib.campbell.edu/learningplay
Davee, S., et al. (2015). Youth makerspace playbook, Charleston, SC: CreateSpace IndependentPublishing Platform.
George Couros.(2017). Characteristics of the Innovator’s MindsetRetrieved form http://www.maggiehosmcgrane.com/2017/10/george-couross-8-characteristics-of.html.
Hasso-Platther.(2018). Design Thinking Research.Center for Design Research.(CDR)Stanford UniversityStanford, CAUSA.
Hero, Laura-Maija. (2017). Innovation tournament as an activity system to promote the development of innovation competence.Journal of Professional and Vocational Education.
Hoy,W.K.&Miskel,C.G.(2008). Educationaladministration:Theory, research and practice, 8thedition.New York: McGraw-Hill.
Roger Martin.(2010). Design thinking: Achieving insights via the "knowledge funnel". March 2010Strategy and Leadership,38(2):37-41.
University of Washington. (2021). Making a Makerspace? Guidelines for Accessibility and Universal DesignCollege of EngineeringUW Information TechnologyCollege of Education.