การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเรื่อง ทวีปแอฟริกาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเรื่อง ทวีปแอฟริกา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่อง ทวีปแอฟริกา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทวีปแอฟริกา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทวีปแอฟริกากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทวีปแอฟริกา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2รายวิชาภูมิศาสตร์ จำนวน 14 แผน ใช้เวลาสอนทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก รายวิชา ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทวีปแอฟริกา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ได้แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน แต่ละแผนประกอบด้วย 7 เรื่องในแผนการจัดการเรียนรู้ 1.1) ที่ตั้งขนาดและอาณาเขตของทวีปแอฟริกา 1.2) ลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา 1.3) ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปแอฟริกา 1.4) ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของทวีปแอฟริกา 1.5) ลักษณะประชากรของทวีปแอฟริกา 1.6) ลักษณะสังคมของทวีปแอฟริกา 1.7) ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกา และผลการประเมินความเหมาะสมได้ค่าเฉลี่ยระหว่าง4.51-4.98อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการหาประสิทธิภาพเท่ากับ 82.95/82.632) ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่อง ทวีปแอฟริกา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 0.64 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 63.843) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทวีปแอฟริกา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จุฑามาศ เพิ่มพูนเจริญยศ.(2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุรีวิยสาส์น
ปรีชา กอเจริญ. (2557). นวัตกรรมทางการสอนเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาชีพทางวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารด้วยกิจกรรมการดึงดูดความสนใจร่วมกับการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง.วารสารวิชาการฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(2),: 124-135.
ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. สืบค้นจาก ww.wattoongpel.com Sarawichakarn/ wichakarn/1-10 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน10.pdf.
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1),104-113.
ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2557).รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น (Active learning) เรื่อง ร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิทธิพงษ์ สุพรม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(2), 49-58.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกัญญา อิ่มใจ. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชา 1043408การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). สาขาวิจัยและการประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
P.A. Kirschner, J. Sweller, R.E. Clark. (2006). Why Minimal Guidance During Instruction Does Not Work: An Analysis of the Failure of Constructivist,Discovery,Problem-Based, Experimental, and Inquiry Based Teaching. Educational Psychologist, 41(2),75-86