ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 180 คน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 ปีเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รายได้ที่กลุ่มตัวอย่างได้รับต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 3,001-6,000 บาท ส่วนใหญ่พักอยู่หอพักคนเดียว ไม่มีโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่างล้างมือมากกว่า 4 ครั้งต่อวัน สามารถนำความรู้ทางระบาดวิทยามาใช้ได้ ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับบริการสุขภาพในปีที่ผ่านมา และเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.22) เจตคติอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 58.89)การปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 60.56) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ของค่าเฉลี่ยระดับความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับชั้นปี พบว่านักศึกษาที่เรียนอยู่ระดับชั้นปีที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.004) และมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.028)
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19.(พิมพ์ครั้งที่ 1). พิมพ์ที่บริษัท คิว แอดเวอร์ไทชิ่ง จำกัด.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู และกชกร ฉายากุล. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย,วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,12(3), 195-213.
จิราพร บาริศรี, กฤติญา สุขเพิ่ม, นภัสภรณ์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม, พิมลศักดิ์ นิลผาย และปิ่นบุญญา ลำมะนา.(2563). พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-2019 (COVID-2019) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด,วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 38-45.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ,5(1), 496-507.
บงกช โมระสกุลและพรศิริพันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9,15(37), 179-195.
พัสกร องอาจ และรัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ. (2564) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19: กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร.วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข,7(1), 87-102.
ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์ และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ,3(3), 106-117.
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร. (2563). อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับโควิด-19 ของบุคลากรทีมสุขภาพ.วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 7(1), 7-24.
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (2563). สถานการณ์ติดเชื้อโรคโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/page/item/index/id/1.
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (2564). สถานการณ์ติดเชื้อโรคโควิด-19. สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2563). ศักยภาพของระบบบริการปฐมภูมิและทีมงานเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทยท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(2),5-8.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2564). รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19.สืบค้นจาก https://www.mkho.moph.go.th.
Apaijitt, P. &Wiwanitkit, V. (2020). Knowledge of coronavirus disease 2019 (COVID-19) by medical personnel in a rural area of Thailand. Infection Control& Hospital Epidemiology, 41, 1243-1244.
Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior.Health education monographs,2(4), 354-386.