การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การเคลื่อนที่ 2 มิติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ 2 มิติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บ จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์จำนวน 2 ชุด ชุดละ 18 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 1 ชุด ชุดละ 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ
การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บมีประสิทธิภาพ 87.04 / 79.39 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บมีคะแนนความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เฉลี่ยร้อยละ 66.50 และ 87.72 ซึ่งพบว่ามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรวรรณ สืบสม. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 118-127.
ชิษณุพันธ์ ทาสมบูรณ์. (2561).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียน.สืบค้นจากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/kruko.
ณัฏฐสิน ตลิ่งไธสง. (2562).การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา.สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 6(1).
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2554). การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน.วารสารศึกษาศาสตร์สาร, 28(1), 87-94.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.
วสันต์ อติศัพท์. (2546). WebQuest: การเรียนที่ระเบียบผู้เรียนเป็นหน่วยงานบนเวิลด์ไวด์เว็บ. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 14(2).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง.(พิมพ์ครั้งที่ 2).นนทบุรี:เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
วิชุดา รัตนเพียร. (2542). การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์,27(3), 29-35.
วีระ สุดสังข์. (2550). การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET).สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/.
สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กาฬสินธุ์:ประสานการพิมพ์.
สุภาพร สุดบนิด สมบัติ ท้ายเรือคำ และบังอร กุมพล. (2556). การเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(ฉบับพิเศษ), 165.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทางห้องเรียนมติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบประชุมผู้บริหาร โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2, 2(1).
Bergmann, J. & S. (2012). Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day.USA:International society for technology in education.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives: Handbook I: Cognitive domain. New York: McKay.
Carlson, R.D., et al. (1998). SoYou Want to Develop Web-based Instruction - Points to Ponder. Retrieved August 15, 2020, from http://www.coe.uh.edu/insite/elec_pub/HTML1998/de_carl.htm.
Driscoll, M. (1997). Defining Internet-Based and Web-Based Training. Performance Improvement,36(4).RetrievedAugust15,2020, fromhttps://www.learntechlib.org/p/82313/.
Marks, D. B. (2015). Flipping the classroom: Turning an instructional methods course upside down. Journal of College Teaching & Learning,12(4), 241-248.
MillerB. (2014). Flipped Classroom. Retrieved August 20, 2020. from https://sites.google.com/site/flipped4science/.
Parson, R. (1998). Difinition of Web-based Instruction. Retrieved August 15, 2020, fromhttp://www.oise.on.ca/~rperson/difinitn.htm.