การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

Main Article Content

พิรดา มาลาม
สมเจตน์ ภูศรี
เสน่ห์ คำสมหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 และ 3) ทดลองและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 การดำเนินการวิจัยมี3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1  การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบหลักงาน ICT และครูผู้สอน จำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยดำเนินการ ดังนี้ 1) การสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้างาน ICT และครูผู้รับผิดชอบหลักงาน ICT จาก 12 โรงเรียน จำแนกเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 48 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและหาค่าร้อยละ  2) การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการโรงเรียน 4 ฝ่าย หัวหน้างาน ICT ครูผู้รับผิดชอบหลักงาน ICT และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 15 คนเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน        ผลการวิจัยพบว่า


          1. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน และปัญหาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากทุกด้าน


  1. รูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานในการบริหารจัดการ ICT 2) ด้านการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านกระบวนการเรียนรู้ 4) ด้านการบริหารจัดการและการบริการ ICT และ 5) ด้านการวิจัยพัฒนา

  2. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 พบว่า ภาพรวมของรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การนำรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้งานจริง โดยรวมมีระดับความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และ คุณค่าและคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยรวมมีระดับความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

 
 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พิรดา มาลาม, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

 

สมเจตน์ ภูศรี, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

 

เสน่ห์ คำสมหมาย, โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

 

 

References

[1] Prachyanun Nilsook. (2008). Information Technology Management : Thailand Development Tools. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 19(3), 1-5 . Retrieved from http://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/download/295/266
[2] Office of the Education Council. (2009). Proposals for the Second Decade of Education Reform (2009 – 2018). Bangkok : Author.
[3] Office of the Education Council. (2010). National Scheme of Education (Revised Edition 2009 -2016). Bangkok : Prig wan Co., Ltd.
[4] Ministry of Education. (2014). ICT MOE Master Plan 2014-2016. Retrieved from http://www.ict.mbu.ac.th.
[5] Office of the Basic Education Commission. (2010). National Education Act of B.E. 2542(1999), and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545(2002), and Amendments (Third National Education Act B.E. 2553 (2010). Office of the Prime Minister Kingdom of Thailand.
[6] Nantawat Subansuk. (2007). State and Problems of Information Technology Management inSecondary Schools in Nonthaburi Educational Service Area Office 1. Master’s thesis. Graduate School : Dhurakij Pundit University.
[7] Titaree Wilailert. (2011). A Management Model For the Information Communication Technologyin the Lab School Kalasin Province. Doctoral dissertation. Graduate School : Rajabhat Mahasarakham University.
[8] Krejcie, R.V. and Moegan,D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30,607-610.
[9] Banjong Kheonkaew. (2009). Information and communication technology management model for Thai higher education institutions. Doctoral dissertation). Graduate School : KhonKaen University.
[10] Amporn Pongkangsananant.(2007). The Development of the Model for ProvidingNonformal Education in Basic Education Institutions for Promoting LifelongEducation. Doctoral dissertation.Srinakharinwirot University.
[11] Wasana Chandraourai. (2012). The Model of Management of ICT for Education Based on Sufficiency Economy Philosophy inBasic Educational Schools of the Department of Local Administration.Silpakorn Educational Research Journal, 4(2), 321-333.
[12] Thanawut Pragobphol. (2010). Adaptive Tutorial System with Collaborative Learning Via the Internet. Doctoral dissertation. Burapha University.
[13] Kanuangnit Promnet. (2011). The Development of Information Technology System for Management ofChiang Rai Community and Industrial College. Chiangrai Vocational College.