การศึกษาเหตุผลของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นิศา ภิรมย์ไกรภักดิ์
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้วัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาเหตุผลของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดขอนแก่น(2) เพื่อเปรียบเทียบเหตุผลของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามอาชีพ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค จังหวัดขอนแก่น จำนวน 385 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการคำนวณตามสูตร Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าที (Independent Sample t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) หรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)


       ผลการวิจัย พบว่า 1)เหตุผลของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดขอนแก่นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.72, S.D.=0.23)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) เปรียบเทียบเหตุผลของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามอาชีพและระดับการศึกษา โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำลอง สุริวงค์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเอกชนให้บุตรหลานของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพิจิตร.วารสารการประชุมวิชาการราชภัฏนครสวรรค์ วิจัยครั้งที่ 1.
ชายหาญณรงค์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ.วารสารวิชาการ VeridianE-Journal,7 (2), พฤษภาคม-สิงหาคม.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ.(2555). การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม.วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 2(4), กรกฎาคม-ธันวาคม.
ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง. (2550).เกี่ยวก้อยพาลูก (หลาน)เข้าโรงเรียนทางเลือก. กรุงเทพฯ: ทะเลจันทร์.
พัฒนินทร์ สรรพวรสถิตย์. (2552). ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโครงการโรงเรียนสองภาษาโรงเรียนอนุบาลใหม่เมืองชลบุรี.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิชญาดา นวลสาย. (2563). การศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 20(1).
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา.(Educational Research)(พิมพ์ครั้งที่ 10).คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
เพ็ดตะกุน มะนีวัน. (2563). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์,6(1),มกราคม-เมษายน.
ธวัช ราชม. (2563). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มคุณภาพการศึกษานครหงส์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(77),เมษายน-มิถุนายน.
สุริยา เสียงเย็น. (2550). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยจังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา,10(3),กรกฎาคม-กันยายน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2557).พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.(2557). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 (2545-2559). สืบค้นจาก www.onec.go.th
Robinson, S., and Barlow, G. (1999). Imagepublic relations.New York: Macmillan.
Walberg, Herbert J. (1984). Improving the productivity of American SchoolTheEffective Teacher. New York:McGraw-Hill.