การประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพจริงที่เป็นอยู่และสภาพที่ควรจะเป็นในการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 22) เพื่อจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 23) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามลำดับความสำคัญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนผู้ปกครองนักเรียนผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 294 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 42 โรงเรียน โรงเรียนละ 7 คน และแหล่งข้อมูลบุคคล ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้นำชุมชน รวมจำนวน10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพจริงที่เป็นอยู่ จำนวน 17 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.88-0.98 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.988 และแบบสอบถามสภาพที่ควร จำนวน 17 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.75-0.95 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.970 และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค Modified Priority Need Index (PNI modified) และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สภาพจริงที่เป็นอยู่ อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.95,S.D.=0.70)และสภาพที่ควรจะเป็น อยู่ในระดับมาก
( =4.23,S.D.=0.67) 2) ความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญอย่างเร่งด่วนและต้องพัฒนาในลำดับแรก ได้แก่การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รองลงมา ได้แก่การมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ประเมินผล ตามลำดับ และ 3) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2พบว่าด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ควรให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานอย่างชัดเจน ควรจัดให้มีการมีส่วนร่วมในทุกเรื่องอย่างจริงจัง ควรจัดให้มีประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างสถานศึกษาและชุมชน ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดหรือพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ทัศนีย์อันติมานนท์.(2553).การบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่าจังหวัดพังงา.(วิทยานิพนธ์ ค.ม.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เทวินธรรมลังกา.(2553).การใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านเวียงฝาง จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ กศ.ม.). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นาฏยา แสงพระอินทร์ และพรเทพ รู้แผน.(2563).การศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์,22 (2), 181-194.
บุญเลิศสีบุนเฮีอง.(2554).การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ประจำแขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(วิทยานิพนธ์ ค.ม.). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประวัติผันผาย. (2552).ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อวิธีการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3(การศึกษาค้นคว้าอิสระ). เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ปานจันทร์ โหทอง.(2542).การเปรียบเทียบผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนแบบร่วมระหว่างเทคนิคสตอรี่บอร์ดดิ้งแบบเดิมและแบบปรับปรุง.สืบค้นจากhttp://www.tnrr.in.thThai National Research Repository.
วิสันต์ พยุงวงษ์ และธัญญธรศรีวิเชียร.(2560). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,11 (2), 171-183.
สาครมหาหิงค์. (2560).การบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4.วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 4 (3), 574-589.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548).มาตรฐานการศึกษาของชาติ.กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
สุธรรมธรรมทัศนานนท.(2553).หลักการทฤษฎี และนวัตกรรมการบริหารการศึกษา.มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช.(2548).การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.