สภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่

Main Article Content

พิชญา ชูเอกวงศ์
สุกัญญา แช่มช้อย
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมสู่เศรษฐกิจพลาสติกใหม่ส่งผลให้การเตรียมความพร้อมของบุคลากรมีความสำคัญและเร่งด่วนผ่านการพัฒนารูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ แหล่งข้อมูลสำหรับการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนอาชีวศึกษา 7 ท่าน ครู 43 ท่าน ผู้เรียน 46 ท่าน ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก 2 ท่าน และผู้ประกอบการโรงงานพลาสติก 7 ท่าน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พึงประสงค์ของโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่แบ่งเป็น 6 องค์ประกอบหลัก และ20 องค์ประกอบย่อยดังนี้ 1) รูปแบบการดำเนินการ มีผู้รับผิดชอบ คือ สถาบันพลาสติกผู้ฝึกสอน คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่มาของแหล่งเงินทุน คือ เงินลงทุนภายในองค์กรด้วยรูปแบบค่าเรียนแต่ละหลักสูตร2) จุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายที่พึงประสงค์สูงสุด คือการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนนักศึกษากับการฝึกอบรมบุคลากร กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง3) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตคือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถการนำกลับไปใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล4) กระบวนการผลิตคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยผลิตแบบเป็นล็อตหรือต่อเนื่อง 5) สภาพการเรียนรู้คือการเรียนรู้ทางกายภาพพร้อมกับการใช้ดิจิตัลสนับสนุนขนาดโรงเรียนเป็นแบบย่อส่วน6) การสอน มีสมรรถนะที่ต้องพัฒนา 4 เรื่อง กระบวนการผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพลาสติกใหม่การประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการหาวัตถุดิบใหม่ความเข้าใจและความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ และการออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ผ่านการเรียนรู้จากการสอนและการแนะนำโดยมีผู้สอนเป็นโค้ช ผู้ฝึก หรือผู้ชี้แนะผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ออกแบบตามความต้องการของผู้เรียน การประเมินผลโดยนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในโรงงานจริงและประเมินความสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านการสอบภาคปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย