การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กานต์ญาณิศา สุนทร
สุรกานต์ จังหาร
ประสพสุข ฤทธิเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบคะแนนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจากที่เรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติกับเกณฑ์ร้อยละ75 และ3) ศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลคูเมืองจำนวน 22 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร3)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (One Samples t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.91/77.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติมีคะแนนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.45, S.D.=0.28)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ กาญจันดา. (2546). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษ และแรงจูงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา ครุฑมณี และสมชนก ภู่อำไพ. (2558). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอนแบบบทบาทสมมติ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตประจำปี พ.ศ. 2558.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
เกศสุดา ปงลังกา. (2550). การศึกษาการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2550).รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย.(พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning).วารสารสถาบันวิจัยญาณสงวร, 8(2), 327-336.
พิชญาภา กล้าวิจารณ์. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รุ้งลาวันณ์ วงษ์ธนาสิริ. (2558). ศึกษาการพัฒนาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
โรงเรียนอนุบาลคูเมือง. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). บุรีรัมย์: โรงเรียนอนุบาลคูเมือง.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Back ward Desing. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศุภวรรณ บัวบุญ. (2551). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยวิธีสอนเขียนแบบกระบวนการของโรมส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันภาษาอังกฤษ. (2557). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากลระดับชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550).หลักการสอน(พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ:โอดียนสโตร์
Nunan, D. (1991). Communicative tasks and the language curriculum.TESOLquarterly,25(2),279-295.