การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พัชรฎา พลเยี่ยม
กันยารัตน์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 24 คน โรงเรียนสตรีศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา 3) แบบบันทึกหลังการสอนของครู 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                  


       ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR เพิ่มขึ้น โดยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 79.17 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2556).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ (PECA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
จรุง ขำพงศ์. (2542). ผลของการใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ ค.ด.). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตะวัน พันธ์ขาว. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการเรียนวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เตชทัต เรืองธรรม. (2559). SHW การเขียนทางวิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท, 45(203), 7-13.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาจรีย์ เยาดำ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการใช้กลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544).เมตาคอกนิชัน (Metacognition)ในวิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะ มาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.
รัตนพร บูรณะพล. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1), 2021.
โรงเรียนสตรีศึกษา. (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET).ร้อยเอ็ด.
โรงเรียนสตรีศึกษา. (2562).หลักสูตรสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนสตรีศึกษาร้อยเอ็ด.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). ค่าสถิติพื้นฐานผลคะแนนการสอบ วิชาสามัญ 9 วิชา ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามวิชา. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/247
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
สุวร กาญจนมยูร. (2533). เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Constant, F.W. (1967). Fundamental Principle of Physics. Massachusets: Addison Wesley Publishing Company.
Herganhahn, B.R. and and Olson, M. (1993). An introduction to theories of learning 4thed. United States: Prentice Hall.
Kemmis, S & Mc Taggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakib University.45.
Maccini, P. and K. L. Ruhl. (2000). Effects of a graduated instructional sequence on the algebraic subtraction of integers by secondary students with learning disabilities.Education and Treatment of Children, 23(4), 465-489.
Maccini, P., & Hughes, C. A. (2000).Effects of a problem-solving strategy on the introductory.