การประเมินความต้องการจำเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษายุคโควิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในสถานศึกษายุคโควิด และ 2) วิเคราะห์สาเหตุและกำหนดแนวทางแก้ไขการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในสถานศึกษายุคโควิดประชากรที่ประเมินความต้องการจำเป็นคือ นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 24 คน จำนวนโรงเรียนฝึกสอน 12 โรง ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มประกอบด้วย อาจารย์นิเทศ 3 คน อาจารย์พี่เลี้ยง 2 ท่าน และตัวแทนนิสิต 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสูตร PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการประเมินเพื่อการเรียนรู้ รายการประเมินที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ครูชี้แจงเป้าหมาย การเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนก่อนเริ่มการเรียนการสอนสาเหตุเนื่องจากระยะเวลาที่จำกัดทำให้นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเน้นการสอนเนื้อหา แนวทางแก้ไขสามารถทำได้โดยการใช้ช่องทางเทคโนโลยีแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Google classroom, Line เพื่อกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ รวมถึงแทรกในใบงานหรือเอกสารการสอน 2) ด้านการประเมินขณะเรียนรู้ รายการประเมินที่มี ความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินผลงานของเพื่อนสาเหตุเนื่องจากระยะเวลาและช่องทางการประเมินที่จำกัด รวมถึงเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างยาก แนวทางแก้ไข คือใช้ Application มาช่วยการประเมินให้มีความสะดวกมากขึ้น 3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้รายการประเมินที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือครูรายงานคะแนนผลการเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบสาเหตุเนื่องจากการรายงานผลการเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบเป็นความรับผิดชอบในส่วนงานวัดผลของโรงเรียน แนวทางแก้ไขคือนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูควรให้ความสำคัญกับการเก็บคะแนนผลการเรียนให้ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้และมีความเป็นปัจจุบัน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Ferdous, T. and Razzak, B.M. (2012). Importance of training needs assessment in the banking sector of bangladesh: A case study on national bank limited (NBL). International Journal of Business and Management, 7(10), 63-73.
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์เรื่อง การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-A6.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การประเมินเพื่อการเรียนรู้ : การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลย์วิสาข์ ธาราวร และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การประเมินความต้องการจําเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. OJED, 11(3), 374-389.
จิราภรณ์ มีสง่า และอิศรา รุ่งทวีชัย. (2561). การศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(2), 93-101.
จุรารัตน์ จันทร์กลับ. (2548). สภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษาอําเภอนาทวี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
นิกร ปัตตาลาคะ และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2564). ศึกษาการรับรู้ การปฏิบัติ ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 127-144.
บำเพ็ญ หนูกลับ, สุวพร เซ็มเฮง และสุรชัย มีชำญ. (2560). ความต้องการจำเป็นและรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินตามสภาพจริงสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 62-71.
ลักษมี ชุมภูธร. (2550). การศึกษาสภาพการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ภาคนิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2556). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1), 1-10.
วัสส์พร จิโรจพันธุ์ และกันต์ฤทัย คลังพหล. (2558). ผลการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 273-285.
สกลรัชต์ แก้วดี. (2561). การพัฒนาผู้เรียนด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 394-409.
สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2561). แนวคิด หลักการและยุทธวิธีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้. วารสารวัดผลการศึกษา, 24(1), 13-27.
สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-214.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิสระ กุลวุฒิ, สุรีพร อนุศาสนนันท์ และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครูในภาคตะวันออก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(4), 4-14.
อนุสรณ์ หงส์สูงเนิน และสุจรรยา รุ่งทะเล. (2548). การศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผล ช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. รายงานการวิจัยโปรแกรมวิชาการวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อุไร ซิรัมย์, พรทิพย์ ไชยโส, พิกุล เอกวรางกูร และทรงชัย อักษรคิด. (2563). เทคนิคการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 193-206.