การวิเคราะห์ต้นทุนทางโลจิสติกส์ โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ของกลุ่มผู้ปลูกกาแฟ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

สุพจน์ คำมะนิด
สมเกียรติ์ อินตาวงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนทางโลจิสติกส์ โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมของกลุ่มผู้ปลูกกาแฟ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อหากิจกรรมที่ก่อให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์การปลูกกาแฟ จังหวัดแม่ฮ่องสอน2) เพื่อคำนวณหาต้นทุนโลจิสติกส์ในแต่ละกิจกรรมของการปลูกกาแฟ จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผู้ให้ข้อมูล คือ ตัวแทนจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ในอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 100 ครัวเรือน ตัวแทนจากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐหลักในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ปลูกกาแฟ 3 หน่วยงานประกอบด้วยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 คน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 คน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 คน โดยที่ทุกคนมีความเต็มใจให้ข้อมูล จำนวน 103 คน เครื่องมือ คือแบบสัมภาษณ์และการสังเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมที่ก่อให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์การปลูกกาแฟ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยกิจกรรมเตรียมแปลงเพาะปลูก กิจกรรมเตรียมต้นกล้า กิจกรรมการปลูกและดูแล กิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นทุนเฉลี่ยต่อการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในแต่ละกิจกรรมของการปลูกกาแฟ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เฉลี่ยต่อไร่ พบว่า ต้นทุนในแต่ละกิจกรรมเป็นต้นทุนเกี่ยวกับต้นทุนผันแปร จำนวน 2,498.47 บาท ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมเตรียมแปลงเพาะปลูก โดยเฉลี่ยไร่ละ 271 บาท กิจกรรมเตรียมต้นกล้าโดยเฉลี่ยไร่ละ 69.89 บาท กิจกรรมการปลูกและดูแลโดยเฉลี่ยไร่ละ 639.58 บาท กิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยเฉลี่ยไร่ละ 1,518.00บาท นอกจากนี้สามารถแบ่งต้นทุนในการผลิตโดยเฉลี่ยไร่ละ 3,219.87 บาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นต้นทุนที่ถือเป็นตัวเงินสด คือต้นทุนผันแปรเฉลี่ยไร่ละ 2,548.27 บาท และต้นทุนที่ไม่ถือเป็นเงินสด คือต้นทุนคงที่เฉลี่ยไร่ละ 671.60 บาท และเมื่อพิจารณาต้นทุนผันแปร คิดเป็นร้อยละ 79.14 และต้นทุนคงที่ คิดเป็นร้อยละ 20.86 ของต้นทุนการปลูกกาแฟทั้งสิ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัณชร แก้วส่อง. (2560). ข้อเสนอตัวชี้วัดชุมชนที่มีความเข้มแข็ง.สืบค้นจากhttp://www.thaiichr.org.
สุรศักดิ์ นานานุกูล. (2559). การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ: ทางอยู่รอดของธุรกิจขนาดย่อม. การสัมมนาเศรษฐกิจการเกษตรและการค้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ไทย-จีน ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.http://v-reform.org/wp-content/uploads/2012/07
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจากhttp://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
Barney, J.B. (1991). Firm resources and sustainable competitive advantage.Journal of Management,17, 99-120.
Cohen, J. M. ,&Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation : Concepts and Measures for Project Design,Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2 The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University, January.
Denzin, N. K. (1970). Sociological Methods: A source Book. Chicago: Aldine.
Erwin, W. (1976).Participation management: Concept theory and implementation.Atlanta, GA: Georgia State University.