การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส

Main Article Content

พิราวรรณ วังทะพันธ์
อุฤทธิ์ เจริญอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส เรื่อง เสียง จำนวน 8 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง เสียง 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหา 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในวงรอบปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 7 คน วงรอบปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 19 คน และในวงรอบปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 24 คน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์การศึกษา. กรุงเทพฯ :พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.)

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กมลชนก ชัยชนะและปกณ์ ประจัญบาน. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์โดยการประยุกต์แนวคิดของโรจาส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(3), 130-138

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง

รมิตา ชื่นเปรมชีพ, พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ และวรากร เฮ้งปัญญา (2560). ผลของกลยุทธ์การแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12 (1), 155-171.

สาวิตรี มูลสุวรรณ. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุธิดา แสนวัง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อมรรัตน์ บัวจำรัส. (2560). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Buachamrat, A. (2017). Study of problem solving ability and mathematical communicaton ability on application of linear equations to one variable of Mathayom Suksa 2 students using FPS strategies. Master of Science thesis Mathematics Education College Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima. (In Thai)

Heller,K. , & Heller, P. (2010). Cooperative problem solving in physics a user's manual. Retrieved November1,2019,fromhttps://www.aapt.org/Conferences/newfaculty/upload/Coop-Problem Solving-Book.pdf

Jitendra, A. K. , & et al. (2010). Schema-Based Instruction: Facilitating Mathematical Word Problem Solving for Students with Emotional and Behavioral Disorders. Preventing School Failure, 54 (3), 145–151.

Jitendra, A. K. , & Star. J. R. (2011). Meeting the Needs of Students With Learning Disabilities in Inclusive Mathematics Classrooms: The Role of Schema - Based Instruction on Mathematical Problem Solving. Theory into Practice, 50 (1), 12 19.

Kemmis and MCTaggart. (1988). The Action Research Planner. Australia: Distributed By Deakin University.

Redish, E. F. (1994). The Implications of Cognitive Studies for Teaching Physics. American Journal of Physics, 62 (6), 796-803

Rockwell, Sarah B. (2012). Teaching students with autism to solve addtive word problems using schema-based strategy instruction. Ed.D.

Skinner, B.F. (1938). The behavior of organisms: An experimental analysis. New York: Appleton- Century-Crofts