การนิเทศแบบเพื่อนร่วมรุ่น (Peer-Buddy) ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

Main Article Content

อาทิฐยา วรนิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนร่วมรุ่น (Peer-Buddy) ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการ


เรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนโดยทำการศึกษาปัญหาการนิเทศ ร่างรูปแบบการนิเทศ ทดลองใช้รูปแบบและประเมินรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ปัญหาการนิเทศ แบบประเมินรูปแบบ แบบประเมินความสามารถในการนิเทศและความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการนิเทศการจัดการเรียนรู้ เกิดจากผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศขาดความร่วมมือและความเข้าใจใน


เป้าหมายการนิเทศร่วมกัน ทำให้ครูไม่สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง 2) รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนร่วมรุ่น (Peer-Buddy)


ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พัฒนาขึ้นโดยการใช้แนวคิดการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (Cooperative Development Supervision) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (PA: Preliminary data Analysis) ขั้นที่ 2 การจัดการความรู้ (KM: (Knowledge management) ขั้นที่ 3 การจับคู่ “ครูคู่สัญญา” (PB: Peer-Buddy) ขั้นที่ 4 การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ (RT: Reflective Teaching) และการประเมินผลการนิเทศ โดยมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และคู่มือการนิเทศมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) จากการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบ


เพื่อนร่วมรุ่น (Peer-Buddy) ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนผู้ได้รับการนิเทศมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) สูงกว่าก่อนรับการนิเทศ และนักเรียนที่ได้เรียนรู้แบบ Active Learning โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL)มีความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ครูผู้รับการนิเทศ เห็นว่า รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนร่วมรุ่น (Peer-Buddy) ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). ทิศทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์พัฒนาหลักสูตร. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด

จริญญา ปรีชาวิภาษ(2561) ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง โจทย์ปัญหาอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศึกษานารี. โครงการหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชาคริยา ชายเกลี้ยง และคณะ. (2561) รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการวิจัยของครูระดับมัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10).

วาสนา ภูมี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรกมล วงศธรบุญรัศมิ์. (2557). การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือของ สสวท. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วสิรดา สายเพ็ชร. (2560). กลยุทธ์การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. สาขาวิชานิเทศการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ธา ธรรมพุทโธ. (2552), ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, (วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อามีเนาะ สาเล็ง และคณะ. (2560). การนิเทศแบบร่วมพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3, วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. 10

อรสา กุนศิลา (2556). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3, (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร

Beach, Don M. and Reinhartz, Judy. (2000). Supervision leadership: focus on instruction. Boston: Allyn and Bacon.Carrie Ann Stephens, THE PROCESS OF SUPERVISION WITH STUDENT TEACHER CHOICE.A QUALITATIVE STUDY.University of Tennessee.

Furth, H.G. (1969). Piaget and knowledge:Theoretical Foundations. Newjersey: Prentice-hall International,INC.1969.