การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ยุภารัตน์ พืชสิงห์
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ (online) และช่วงที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (on-site) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 จำนวน 33 คน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ (3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ จำนวน 2 ฉบับ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) และสถิติทดสอบที แบบ one sample t-test


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์มีประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงที่ 1 เท่ากับ 74.85/67.73 และในช่วงที่ 2 เท่ากับ 77.52/68.64 ซึ่งพบว่าทั้ง 2 ช่วง มีประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70/70 ตามที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 ช่วง จากการทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบที นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณไม่แตกต่างกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณในการเรียนรู้ช่วงที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.79 คิดเป็นร้อยละ 71.64 และช่วงที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.03 คิดเป็นร้อยละ 72.31 ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยร้อยละของทั้ง 2 ช่วง พบว่า นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ยเท่ากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มทั้งหมดและ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการช่วงที่ 1 เท่ากับ 3.77 และช่วงที่ 2 เท่ากับ 4.06 ซึ่งจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 ช่วง นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). (2563). ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2563). แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking).https://www.scimath.org/lesson-technology/item/10560-2019-08-28-02-43-20

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน Developmental Testing of Media and Instructional Package. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1).

ชาญวิทย์ ศรีอุดม. (2562). แนวคิดเชิงคำนวณ.จาก http://charnwit.in.th/?p=1302#.XX8Q4dUzbIU

โชติกา สงคราม. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคานวณด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(1).

โชติมา วัฒนะ. (2557). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : ประโยชน์และโทษ. วารสารรังสิตสารสนเทศ. 24(1).

ทิศนา แขมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการะบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กาฬสินธุ์ ประสานการพิมพ์.

บุญสนอง วิเศษสาธร. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(1).

เบญจภัค จงหมื่นไวย์. (2561). เกมมิฟิเคชันเพื่อการเรียนรู้. Journal of Project in Computer Science and Information Technology. 4(2).

พนมพงศ์ สุวรรณสิงห์. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). จาก https://satit.msu.ac.th/th/data/file_up/20150128133059.pdf

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎพระนคร.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 9(1).

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5(4).

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิริยาสาสน์.

ลัดสะหมี คุณพะจันสี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4(1).

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2). 23-37.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมถวิล โชติคณาทิศ. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(2).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์. (2560). การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning) ความท้าทายของการศึกษาพยาบาลในการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.

อาภร นกแก้ว. (2563). ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนการคิดเชิงนามธรรมสําหรับการคิดเชิงคํานวณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(3).

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Badrul, S. (1998). Item-Based Collaborative Filtering Recommendation Algorithms. GroupLens Research Group/Army HPC Research Center.

Barefoot, C. A. S. (2014). Computational thinking. จาก http://barefootcas.org.uk/wpcontent/uploads/2014/10/Computational-thinkingBarefoot Computing.pdf

Barrows, H. S. (2000). Problem-based learning applied to Medical Education. IIlionois : School of Medicine: Southern IIlionois University.