แนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดน่าน กับสถานการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดน่าน กับสถานการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดน่านกับสถานการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ด้วยแนวคิด PESTEL Analysis เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดน่านกับสถานการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ด้วยแนวคิด 7s Model ของ McKinsey ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 88 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ท จำนวน 10 คน ผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน จำนวน 1 คน และผู้บริหารสมาคมโรงแรมและรีสอร์ทจังหวัดน่านขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ของผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็ก จำนวน 41 ข้อ และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน และผู้บริหารสมาคมโรงแรมและรีสอร์ทจังหวัดน่าน จำนวน 8 ข้อ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ด้วยกระบวนการวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดน่าน 1 เล่ม แนวคิด 7s ของ Mckinsey จำนวน 1 เล่ม และ PESTEL Analysis จำนวน 1 เล่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)
ผลการศึกษาพบว่า ในประเด็นผลกระทบจากสถานการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) เมื่อมีการระบาดของไวรัส
การออกนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการล็อคดาวน์ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ ส่งผลให้ยอดจองห้องพักรวมถึงรายได้ค่าที่พักในปี 2563 หายไปมากกว่า 50% โดยผลกระทบดังกล่าวส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงมาก และในประเด็นแนวทางการพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลางส่วนใหญ่คิดว่า ควรมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ รวมถึงการพัฒนาปัจจัยภายในองค์กร รวมถึงความใส่ใจในสุขภาพและอนามัย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษาระดับรายได้ รวมถึงมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.
กวินภพ สายเพ็ชร์. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 (COVID-19) กับโอกาสในการปรับตัวทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมโรงแรมของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 207-219.
นันทิกานต์ ศรีสุวรรณ์. (2564). มาตรฐานความปลอดภัยของธุรกิจโรงแรมและที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ, 9, 168-186.
พลอยศรี โปราณานนท์. (2548). ผลกระทบจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัชรียา แก้วชู. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19. วารสารรามคำแหง, 15(1).
พัฒนาภา ธาดาสิริโชค. (2563). กลยุทธ์การปรับตัวด้านการบริหารจัดการโรงแรมในสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา โรงแรมเดอะภัทราพระราม 9. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิพัฒน์ รัชกิจประการ. (2563). Covid-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2564). มหากระแสจีน-จากนักท่องเที่ยวสู่นักลงทุน. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznew.com/ news/detail/9269
รัตนะ บัวสนธิ์. (2551). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คําสมัย.
วรรณา วงษว์านิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรษพร ผิวดี. (2555). การศึกษาการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานจังหวัดน่าน. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน. น่าน:กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
อมราวดี ไชยโย. (2563). การจัดการภาวะวิกฤตของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทยภายใต้วิกฤตการณ์ COVID-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 685-700.
Cohen, L. (1989). Research Method in Education. Ed. London: Routledge
Dung, L., and Giang, P. (2021). "Strategic responses of the hotel sector to COVID-19: Toward a refined pandemic crisis management framework. International Journal of HospitalityManagement, 94.
Incquity. (2014). PEST Analysis. London: Fortune.
Spencer, L. M., & Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Model for superior Performance. New York. Wiley & Sons.