การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อตอบรับกับแนวคิดเมืองกระชับ: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

พุฒพัณณิน คำวชิระพิทักษ์
วราลักษณ์ คงอ้วน

บทคัดย่อ

การพัฒนาเมืองที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เผชิญกับสถานการณ์การขาดแคลนพื้นที่สาธารณะ ซึ่งแม้ในปัจจุบันจะมีแนวคิดการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่ประยุกต์ใช้แนวคิดทางวิชาการ โดยเฉพาะแนวคิดเมืองกระชับกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว บทความวิจัยชิ้นนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์พื้นที่สาธารณะในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของแนวคิดเมืองกระชับกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ อันนำไปสู่การพัฒนาเมืองตามแนวคิดเมืองกระชับ ดำเนินการวิจัยโดยการสำรวจภาคสนาม และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า เทศบาลตำบลบ้านแพ้วเป็นที่ตั้งของพื้นที่สาธารณะ ทั้งประเภทที่ว่างและสวนสาธารณะ การพัฒนาพื้นที่สาธารณะของเทศบาลตำบลบ้านแพ้วให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับแนวคิดเมืองกระชับอย่างชัดเจนในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ความหลากหลายของที่อยู่อาศัย การสงวนและรักษาพื้นที่สีเขียว การมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในอนาคต อันนำไปสู่การพัฒนาเมืองตามแนวคิดเมืองกระชับควรมุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสาน การใช้มาตรการทางผังเมืองทั้งในเชิงลบ (การระบุตำแหน่งพื้นที่สาธารณะในอนาคตและการควบคุมทางผังเมืองด้วยข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน) และมาตรการเชิงบวก (การจัดทำแผนงบประมาณโครงสร้างพื้นฐาน) และการพัฒนาและปรับปรุงการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะด้วยทางเดินเท้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำธร กุลชล. (2545). การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร-การติดตามหาคำตอบในรอบ 40 ปี. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐาปนา บุนยะประวิตร. (2556). การวางผังและออกแบบสถานที่สาธารณะตามเกณฑ์ Smart Growth. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/smartgrowth/2013/06/16/entry-1

เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๖๑-พ.ศ.๒๕๖๕).สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563จากhttps://banphaeocity.go.th/public/list/data/detail/id/1150/menu/1196/ page/1/catid/60.

ศุภชัย ชัยจันทร์ และณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์. (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(2), 71-83. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564จากhttps://architservice.kku.ac.th/wp-content/uploads/2017/02/05-Supachai.pdf

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2557). โครงการค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษากำหนดแนวทางการปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร.

สุธาสินี สารประสิทธิ์. (2559). ลักษณะพื้นที่กึ่งสาธารณะและพื้นที่สาธารณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. (การค้นคว้าอิสระปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.

สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2559). นิยามพื้นที่สีเขียว 7 ประเภท. สืบค้นเมื่อวันที่7 พฤษภาคม 2563จากhttp://203.155.220.118/green-parks-admin/

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (ม.ป.ป.). มาตรการทางผังเมืองของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท

CABE Space Design Council. (2004). The Value of Public Space: How high quality parks and public spaces create economic, social and environmental value. Retrieved September 28, 2021, from https://www.designcouncil.org.uk/sites/default/files/asset/document/the-value-of-public-space1.pdf

Dantzig, G. B. and Saaty, T. L. (1973). Compact City: A PLAN FOR A LIVEABLE URBAN ENVIRONMENT. San Francisco: W.H. Freeman and Company.

Francis, M. (1989). Control as a Dimension of Public Space Quality. RetrievedSeptember 28, 2021, fromhttps:www.researchgate.net/publication/283339270_Control_as_a_Dimension_of_Public_Space_Quality

Goodsell, C.T. (2003). The Concept of Public Space and Its Democratic Manifestations. The American Review of Public Administration. 33(4), 361-383

Jenks, M. and Burgess, R., ed. (2000). Compact Cities. Sustainable Urban Forms for Developing Countries. London: Spon Press.

Land Planning & Design Associates, Inc. (2013). City of Harrisonburg Comprehensive Parks and Recreation Master Plan Update. Retrieved April 1, 2020, from https://www.harrisonburgva.gov/sites/default/files/Parks/files/Parks%20and%20Recreation%20Comp%20Master%20Plan%20Update.pdf

Marcus, C. and Francis,C. (1976). People Places: Design Guideline for Urban Open Space. Department of Architecture and Landscape Architecture University of California. Berkeley.

Metropolitan Planning Council. (2018). Four Key Qualities of a Successful Place. Retrieved September 28, 2021, from http://www.placemakingchicago.com/about/qualities.asp.