การส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดงานการท่องเที่ยงเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ระบุธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์2)ศึกษากระบวนการดำเนินงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 3)เสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย 1) ผู้แทนธุรกิจจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมจำนวน 6 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 2) ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศในกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ จาก 5 หน่วยงาน จำนวนรวม 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis)ผลการวิจัย พบว่า 1)ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ประกอบด้วย 12 ธุรกิจ 2)กระบวนการดำเนินงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ประกอบด้วยรายละเอียดการดำเนินงานในด้านการบริหารจัดการการออกแบบการตลาดการดำเนินงาน และความเสี่ยงและ 3)แนวทางในการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงมหกรรมของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการออกแบบ ด้านการตลาด ด้านการดำเนินงาน และด้านความเสี่ยง โดยภาพรวมสรุปได้ว่า ธุรกิจควรมีเงินทุนและทุนสำรอง ควรมีพันธมิตรทางธุรกิจ ควรมีการศึกษาด้านกฎหมาย ข่าวสารต่าง ๆ และพัฒนาศักยภาพด้านเทคนิคและเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน และเตรียมการรองรับความเสี่ยงในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2555). Event Marketing.กรุงเทพฯ: ธุรกิจมีเดีย.
จิตราภรณ์ จรัสรัมย์. (2561). ขั้นตอนการจัดงานอีเวนท์ กรณีศึกษางาน ICONSIAM Grand Opening จัดโดย บริษัท อินเด็กซ์ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จีณัสมาศรีหิรัญศศิพัชร์ปิติโรจน์และกาญจนาแฮนนอน. (2561). แนวทางการออกแบบกิจกรรมอีเว้นท์เชิงวัฒนธรรมแบบสนุกสนานในบริบทอัธยาศัยไมตรีที่งดงามตามอย่างไทย : กรณีศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 278-295.
ดวงกมล ศิริยงค์. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ศึกษาเฉพาะ 4 ธุรกิจ เอสเอ็มอีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในรายการเอสเอ็มอีเพื่อชิงรางวัลสุดยอด เอสเอ็มอีแห่งปี Ref. code:25595807011423CYM 103 ประจําปี 2554. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการประกอบการคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัชวรรณ โอภาสขจรเดช. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็ก. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ และสุรมงคล นิ่มจิตต์. (2561).รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร:กรณีศึกษาสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ.Veridian E-Journal, Silpakorn Universityฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3),3374-3394, กันยายน-ธันวาคม.
รัตชพงษ์ เขียวพันธุ์. (2561). รูปแบบการจัดการมหกรรมกีฬาของสโมสรฟุตบอลไทยเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 13(2), 37-50.
ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วสุรัตน์ บุษบา และปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์. (2563).การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจรับจัดอีเวนต์สำหรับเขตภาคเหนือตอนล่าง 2.วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 1-8, เมษายน-มิถุนายน.
วิชัยโถสุวรรณจินดา. (2546). หัวหน้างานพันธุ์แท้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ส.ส.ท.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.
อัจชนา จังเกษม. (2555). ความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจต่อการบริการรับจัดงานของจิตต์อารี สปอร์ตคอมเพล็กซ์จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Goldblatt, J. (2014). Special Events: Creating and Sustaining a New World for Celebration. 7th ed. New York: John Wiley & Son.
Silvers, J. R. (2007). The EMBOK Project Curriculum Model. Albuquerque, NM: Silvers.
Theng, T. (2018). MICE and Event Management Venue Management. Date to Assessed 5 December 2021. from https://www.youtube.com/watch?v=DGsQvA56qZc.