การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์

Main Article Content

ปิยะธิดา พลพุทธา
อนันต์ ปานศุภวัชร
กุลวดี สุวรรณไตรย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโดดอนเสียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 18 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


            ผลการวิจัยพบว่า1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.83/77.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนด2) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์
อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.40, S.D. =0.71)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขันแก้ว จันทรัตน์, นิตยา สุวรรณศรี และระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning) ร่วมกับผังมโนทัศน์ (Mind Map) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เขียงฮ่อน แขวงไชยบูลี สปป. ลาว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 19-34.

คนึงชัย วิริยะสุนทร. (2564). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(1), 130-142.

จารุณี วิชาชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2(4), 48-60.

จิรัชญา อุ่นอกพันธ์, พงษ์เอก สุขใส และอังคณา อ่อนธานี. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(3), 35-49.

ฉัตรมงคล สีประสงค์, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และนพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2562). การพัฒนามโนทัศน์วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(1), 1-11.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์ (1991).

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทิดพงศ์ ชัยรัตน์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 19(2), 31-49.

บุญกาญจน์ เรืองรอง, กิตติมา พันธ์พฤกษาและนพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจในการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่เน้นการคิดวิเคราะห์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 95-110.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุง(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

ภัทราพร ทำคาม, ดนุชา สลีวงศ์ และศักดิ์ สุวรรณฉาย. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารราชพฤกษ์, 16(1), 124-131.

มนัสนันท์ วงศ์กาฬสินธ์, อนันต์ ปานศุภวัชรและอรุณรัตน์ คำแหงพล. (2564). การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ร่างกายของเรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(1), 34-49.

วนิดา สิงห์น้อย. (2560). ทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท, 45(208), 31-33.

วราภรณ์ กุณาบุตร และสุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(4), 97-112.

วราภรณ์ เพ็ชชะ และสุทธิพร บุญส่ง. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 200-212.

ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2557). กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 42(3), 194-210.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ (Learning Management). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศุภพล มงคลเจริญพันธ์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 13(2), 13-25.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ไสว ฟักขาว. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. [จุลสาร]. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

อนันต์ธชัย คำหาญ, พิทักษ์ วงษ์ชาลี และถาดทอง ปานศุภวัชร. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง วัสดุรอบตัว โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคผังกราฟิก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 128-138.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Education Objectives Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mckay Company.

Mcmillan, J. H., & Schumachar, S. S. (1997). Research in Education: A ConceptualIntroduction.New York: Longman.

Saleh, S., & Subramaniam, L. (2019). Effects of Brain-Based Teaching Method on Physics achievement. Kasetsart Journal of Social Sciences, 40(3),580-584.

Shabatat, K. (2016). The Impact of a Teaching-Learning Program Based on a Brain-Based Learning on the Achievement of the Femals Student of 9th Grade in Chemistry. Higher Education Studies, 6(2), 162-173.