ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

Main Article Content

อมรา กาฬสมุทร
เก็จกนก เอื้อวงศ์
พิชิต ฤทธิ์จรูญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 285 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) จำนวน 6 ข้อ ตอนที่ 2 ระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นมาตรวัดแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 28 ข้อ มีความค่าเที่ยงเท่ากับ .98 และตอนที่ 3 ระดับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา เป็นมาตรวัดแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 35 ข้อ ความค่าเที่ยงเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การให้บริการ การเสริมพลังและให้กำลังใจ ความไว้วางใจ การมองการณ์ไกล และการรับรู้รับฟัง 2) บรรยากาศองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาบรรยากาศองค์การแต่ละแบบ พบว่า บรรยากาศองค์การที่อยู่ในระดับมาก 3 แบบ ได้แก่ บรรยากาศแบบเปิด บรรยากาศอิสระ และบรรยากาศแบบเป็นกันเอง และแบบบรรยากาศองค์การที่อยู่ในระดับปานกลาง 2 แบบ
คือ บรรยากาศควบคุม และบรรยากาศแบบปิด และ 3) บรรยากาศองค์การกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม
มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.544) โดยบรรยากาศแบบอิสระมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำใฝ่บริการอยู่ในระดับสูง (r=.802) บรรยากาศแบบเปิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำใฝ่บริการอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r=.783) บรรยากาศแบบเป็นกันเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำใฝ่บริการอยู่ในระดับปานกลาง (r=.523) บรรยากาศแบบควบคุมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำใฝ่บริการอยู่ในระดับต่ำ ส่วนบรรยากาศแบบปิดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะผู้นำใฝ่บริการอยู่ในระดับต่ำ (r=-.202)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกร ศิริสุข. (2557). ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา. (รายงานวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

กลุ่มนโยบายและแผน. (2562). แผนปฏิบัติการ ประจำปี 2564. ชุมพร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ บุ๊คพอยท์.

จุฬินฑิพา นพคุณ สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ ศิโรจน์ ผลพันธิน และบุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2558). การศึกษาองค์ประกอบและการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 111-130.

ณัฐฏ์นันท์ ฐานเจริญ ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และ รัตนา ดวงแก้ว. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.. 10(2), 261-272.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

บังอร นารี. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมบรรยากาศองค์กรตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มัทนา นิถานานนท์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งกับบรรยากาศขององค์การของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2557). ภาวะผู้นำแบบริการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย Servant Leadership: Concepts, Theories and Research. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

องอาจ สิมเสน. (2556). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาทิตยา บริพันธ์. (2560). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อรุณ พรหมจรรย์. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organization theory and management: Amacro approach. New York: John Wily and Sons.

Greene, J. C. (1992). A Study of Principals' Perception of their Involvement in Decision. Making Processes: It's on Their Joy Performance.

Halpin and Croft. (1963). Theory and research in administration. New York: The Macmillan

Halpin, D. R. (2014). The Organization of Political Interest Groups: Designing advocacy (Routledge Research in Comparative Polities). New York: Routledge.

Irving, J.A. (2005). Servant leadership and the effectiveness of teams. Ph.D. Dissertation, Regent University, United States-Virginia.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. New Jersey: Prentice-Hall.

Melchar and Bosco. (2010). Organisation Development and Transformation in South Africa. Durban: Butterworths.

Spears, L. C. (2010). Character and Servant Leadership: Ten Characteristics of Effective, Caring Leaders. Journal of Virtues & Leadership, 1 (1), 25-30.