การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบแวนฮีลี โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี เรื่อง วงกลม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ณัฐวุฒิ จิตราพิเนตร
มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล
นิภาพร ชุติมันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบแวนฮีลี โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี  เรื่อง วงกลม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล 3) ศึกษาความคิดเชิงเรขาคณิตก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 5) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองผือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 11 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบแวนฮีลี โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดความคิดเชิงเรขาคณิต แบบปรนัย 8 ข้อ อัตนัย จำนวน 2 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00  ค่าความยากตั้งแต่ 0.27-0.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.67 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ย 0.93 ค่าความยากตั้งแต่ 0.29-0.64 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.43-0.71  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for One Sample


ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบแวนฮีลี โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการรับข้อมูล ขั้นการแนะแนวสิ่งใหม่ ขั้นการอธิบาย ขั้นการกําหนดทิศทางอย่างมีอิสระ และขั้นบูรณาการ ซึ่งประยุกต์ใช้โปรแกรมจีเอสพีในขั้นที่ 2 และ 3 มีประสิทธิภาพ 87.60/79.55 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7852 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.52 อีกทั้งนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว  มีความคิดเชิงเรขาคณิตหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 50.83 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 79.55 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 นอกจากนี้ยังมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.62 และ S.D.=0.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ สมบัติธีระ. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของ van hiele โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ช่วยในการเรียนรู้ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ และปริมาตรของ ทรงสี่เหลี่ยมมมุฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1).

ธิติยา เคณศร. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการให้เหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจํานวนเต็มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรมจีเอสพีเป็นสื่อ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,22 (พิเศษ).

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

ยุพิน พลเรือง. (2557). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวยโดยใช้โปรแกรมจีเอสพี (GSP)ที่เน้นการเชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,21(1).

วิภาพร งอยกุดจิก. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนตาม แนวคิดของ van Hiele โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่, 38(2).

ศราวุฒิ คล่องดี. (2559). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนโดยใช้โปรแกรมจีเอสพี เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,22 (พิเศษ).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2562). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2548). คู่มืออ้างอิง ซอฟต์แวร์เชิงสำรวจคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัต เวอร์ชั่น 4.06. สสวท.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. โรงพิมพ์การศาสนา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ส. (2552). ตัวชี้วัดและ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุนันทา โสสีทา. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของ van Hiele โดยใช้โปรแกรม The Geometer’sSketchpad ช่วยในการเรียนรู้ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1).

National Council of Teacher of Mathematics [NCTM]. (1989). Curriculum and evaluation standard for school mathematics. NCTM.

Crowley, M. (1987). The van Heile Model of the Development of Geometric Thought.

Lester, M. L. (1966). The Effect of the Geometer’s Sketchpad Software on Achievement of Geometric Knowledge of High School Geometry Students. Dissertation Abstracts International, 57(6).