แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ภารดี เหมะ
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์
ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและหาแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 191 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และมีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาตาม          หลักธรรมาภิบาล จำนวน 7 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา   


            ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลอยูในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.27, S.D.=0.57) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุดได้ดังนี้ หลักคุณธรรม (gif.latex?\bar{X}=4.38, S.D.=0.56) หลักการมีส่วนร่วม (gif.latex?\bar{X}=4.28, S.D.=0.57) หลักความคุ้มค่า (gif.latex?\bar{X}=4.26, S.D.=0.55) หลักความโปร่งใส (gif.latex?\bar{X}=4.26, S.D.=0.59) หลักความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{X}=4.24, S.D.=0.59) และหลักนิติธรรม (gif.latex?\bar{X}=4.21, S.D.=0.53) 2) แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา คือ 2.1) หลักนิติธรรม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความรู้เรื่องกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษาและลงโทษทางวินัยแก่ผู้ที่กระทำผิด 2.2) หลักคุณธรรม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดการประชุมเรื่องหลักเกณฑ์ในการประเมิน พร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยความเป็นธรรม 2.3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน และแจ้งผลการประเมินแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.4) หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษารับฟังข้อเสนอแนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุก ๆ ช่องทาง 2.5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดทำข้อมูลและจัดโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบและมอบหมายภาระงานให้เหมาะสมกับประสบการณ์และความสามารถของแต่ละคน และ 2.6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูและบุคลากรนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร จีนมหันต์. (2555). แนวทางการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กิตติภูมิ สมศรี. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ฉัตรมงคล สูงเนิน. (2561). แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประสิทธิ์ชัย โสดาวิชิต. (2558). พฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เปรมมิกา อ่อนธานี. (2559). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พรทิพย์ เลี่ยมใจดี. (2562). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานีสังกัดสักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภูวินทร์ รักษ์พงศ์. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR). นครสวรรค์: โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต.

วิชา พรหมโชติ. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดโพธาวาส) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วิไลรัตน์ ฝ่ายดี. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีระยุทธพรพจน์ธรมาส. (2557, มกราคม - มิถุนายน). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร.34(1), 86.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2557). การเสริมสร้างธรรมาภิบาลการปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัด : กรณีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

เหรียญทอง มีชัย. (2557, พฤษภาคม-สิงหาคม). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 4(2), 113-120.

เอกราช รังสรรค์. (2553). การนํานโยบายการบริหารงานขององค์การธุรกิจไทยไปปฏิบัติศึกษาปรากฏการณ์ปัญหาในอดีตเพื่อการพัฒนาสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

อำนาจ ธีระวนิช. (2553). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: มาเธอร์ บอสแพคเก็จจิ้ง.