หลักการทรงงานกับประชาธิปไตยไทย

Main Article Content

กัมลาศ เยาวะนิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอหลักการทรงงาน และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในส่วนที่ผู้เขียนมีความเห็นว่ามีส่วนส่งเสริมให้ประชาธิปไตยและสังคมไทยมีความมั่นคง ในส่วนแรกของบทความเป็นการนำเสนอแนวคิดและลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตย จากนั้นผู้เขียนได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยสองแบบ คือ แบบที่รัฐกับประชาชนถูกมองว่าเป็นคนละฝ่ายกัน กับประชาธิปไตยแบบที่มีภราดรภาพ และนำเสนอการวิเคราะห์ถึงผลที่ภราดรภาพมีต่อความมั่นคงของประชาธิปไตย ส่วนต่อมาของบทความผู้เขียนนำเสนอแนวพระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง บทบาทที่พระองค์ทรงแสดงออกอันเป็นส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และประเด็นสำคัญประเด็นสุดท้ายของบทความเป็นผลการวิเคราะห์ของผู้เขียนเกี่ยวกับผลที่หลักการทรงงานของพระองค์มีต่อการส่งเสริมให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยมีความมั่นคง ซึ่งผู้เขียนพบว่าส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างน้อยใน 4 ประเด็น ได้แก่ การส่งเสริมความสามัคคี การส่งเสริมความเท่าเทียม การส่งเสริมให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนโดยสุจริต และการส่งเสริมการมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนก วงษ์ตระหง่าน. (2553).แนวพระราชดำรัสด้านการเมืองการปกครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2554).เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ: ปรัชญาสังคมอารยะ เพื่อสังคมสงบสุขยั่งยืน.สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2559,จากเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์:http://professorkriengsak.blogspot.com/2011/04/blog-post_5789.html

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2550).พระผู้ทรงเป็นนักรัฐประศาสนศาสตร์.อุตรดิตถ์ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ชนินธร ม้าทอง, สัณหภรณ์ เรือนเงิน, และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2557). ศึกษาเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับประชาชนก่อนและหลังได้รับการเลือกตั้งในเขตพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),8(1),159-168.

ธนะชัย ผดุงธิติ. (2549).พระมหากษัตริย์ นักปกครอง นักกฎหมาย.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติรัฐ.

ประเวศ วะสี. (2549).พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสการพัฒนาใหม่. (3).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน.

ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2555).การทรงงานของพ่อในความทรงจำ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตะวันออก.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549).หลักการประชาธิปไตย 12 ประการ ที่นักการเมืองต้องเข้าใจและยึดถือ.สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559,จากผู้จัดการ: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000055325

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549).หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท. (15).กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์.

Fukuyama Francis. (2013). What is Governance?.Governance,26(3),347-368.

Goodnow, Frank J. (1900).Politics and administration: a study in government.New York:McMillan.